nursekingnarai hospital lopburi

19 ธ.ค. 2555

BEST PRACTICE โครงการสุขภาพดีมณีเวช

ชื่อเรื่อง โครงการสุขภาพดีมณีเวช



หน่วยงาน ผู้ป่วยนอก (ห้องตรวจอายุรกรรม)

นำเสนอโดย นางสมคิด ปรัชญาภรณ์

หลักการและเหตุผล

วิวัฒนาการ ของโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก คนเราต้องพยายามวิ่งไล่ตามให้ทัน จึงต้องทำอะไรๆ ให้รวดเร็ว นอกจากต้องคิดให้เร็วแล้วยังต้องเคลื่อนไหวให้เร็ว ใช้ยวดยานพาหนะที่มีความเร็วสูง มีการเล่นกีฬาที่ใช้ความรุนแรงและรวดเร็ว เช่น ฟุตบอล ฟุตซอล เทนนิส วอลเล่บอล บาสเกตบอล ฯลฯ หรือแม้แต่อิริยาบถต่างๆ เช่น การเดินเร็วๆ การวิ่ง การกระโดดโลดเต้น ฯลฯ สิ่งเหล่านี้มักก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย หรืออาจทำให้โครงสร้างของร่างกายเสียสมดุล จนอาจก่อให้เกิดความเจ็บปวด หรือก่อให้เกิดโรคเรื้อรังบางอย่างได้ และการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังนั้นทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์ ทรมาน ผู้ป่วยจึงพยายามแสวงหาทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อบำบัดรักษา ซึ่งทางเลือกนั้นอาจดีสำหรับคนหนึ่งแต่อาจไม่เหมาะกับอีกคนหนึ่งก็เป็นได้ อิริยาบถบำบัดเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ควรศึกษาและทดลองปฏิบัติ เพราะไม่ต้องรับประทานยาหรือสารเคมีใดๆ เข้าไปในร่างกาย เพียงแต่ต้องชนะใจตนเองในการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จึงจะเห็นผลชัดเจน

อาจารย์ประสิทธิ์ มณีจิระปราการ ซึ่งเป็นอาจารย์ของผู้เขียนนั้นท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของการจัดปรับกระดูกแบบโบราณ (2548) ท่านบอกว่า โรคเรื้อรังบางอย่าง เช่น เบาหวานนั้นให้สอบถามประวัติการเกิดอุบัติเหตุ ท่านบอกว่าในคนที่เคยเกิดอุบัติเหตุ หรือเคยลื่นล้มทั้งยืนหรือเคยล้มก้นกระแทกอย่างรุนแรง เหล่านี้อาจทำให้กระดูกสันหลังช่วงอกเคลื่อนไปกดต่อประสาทอัตโนมัติที่ออกไปเลี้ยงอวัยวะภายในคือตับอ่อน จึงทำให้ตับอ่อนทำงานในการผลิตอินซูลินได้ไม่ดี ก็จะเกิดอาการเบาหวานขึ้น ซึ่งถ้าทำอิริยาบทบำบัดให้กระดูกสันหลังกลับเข้าที่ อาการเบาหวานก็จะดีขึ้นได้เอง

การดำเนินการ

1. ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันที่มารับบริการงานผู้ป่วยนอก โดยแนะนำรายบุคคล ตามความต้องการ

2. สอนรายกลุ่มเข้ากิจกรรมกลุ่มเบาหวาน

3. ติดตามประเมินผลรายบุคคล ประเมินหลังปฏิบัติทันทีผู้ป่วยตอบว่าดีทุกคนเพราะไม่เหนื่อยมาก

4. วางแผนดำเนินการสอนในกลุ่มผู้รับบริการทุกราย พร้อมเจ้าหน้าที่ ในเวลาราชการ 10 นาทีช่วงเช้าก่อนแพทย์ตรวจ

งบประมาณ

ไม่มีค่าใช้จ่าย (สุขภาพดีไม่มีขายถ้าอยากได้ต้องทำเอง)

ปัญหาอุปสรรค

1. สถานที่จำกัด ปัจจุบันจึงต้องเน้นรายบุคคลและกลุ่มย่อย

2. การติดตามผลหวังผลระยะยาว การติดตามในแต่ละครั้งที่มาตรวจตามนัด

ประสบการณ์

การที่เราสามารถทำได้แต่ไม่ฝึกฝนความสามารถนั้นก็อยู่กับเราได้ชั่วคราว แต่เราสอนฝึกฝนทักษะความรู้นั้นไปสู่ผู้อื่นก็จะงอกงามไม่มีที่สิ้นสุด เหนื่อยวันนี้แต่ต่อไปก็จะมีคนมาแทนเราในวันหน้า
อิริยาบทบำบัดคืออะไร

อิริยาบทบำบัดก็คือการเคลื่อนไหวต่างๆ โดยมีการเกร็งกล้ามเนื้อเพื่อดึงโครงสร้างร่างกายที่เสียไปให้กลับสู่สภาพสมดุล และบางท่าให้ทำควบคู่กับการกำหนดลมหายใจเข้า-ออกลึกๆ ยาวๆ ทั้งนี้เพราะขณะหายใจเข้าจะทำให้กล้ามเนื้อมีการตึงตัว และเมื่อหายใจออกกล้ามเนื้อจะผ่อนคลาย การไหลเวียนโลหิตสะดวกขึ้น อาการปวดเมื่อยต่างๆ ก็จะค่อยๆ ลดลงหรือหายไปได้เองโดยไม่ต้องได้ยา สารเคมีหรือการผ่าตัดใดๆ ซึ่งการทำอิริยาบถบำบัดนี้ใช้เวลาไม่นาน ไม่ต้องใช้ชุดกีฬาโดยเฉพาะ ไม่ต้องมีเสียงเพลงประกอบ จึงไม่สิ้นเปลืองงบประมาณในการจัดซื้อจัดหา สามารถทำได้ง่ายๆ ในเวลาก่อนนอน ตื่นนอน หรือเมื่อทำงานนานๆ จะเครียดก็ให้ทำอิริยาบถบำบัดเพื่อคลายความเครียดนั้น

วิธีการ

1. การลงนอนและลุกจากที่นอน การลงนอนในท่าที่ให้นั่งริมเตียงแล้วเอียงตัวลงนั้น ศาสตร์นี้บอกว่าไม่ถูกต้อง เพราะการเอียงตัวลงจะทำให้กระดูกเชิงกรานและกระดูกสันหลังท่อนล่างบิด ถ้าลงนอนเบาๆ คงไม่เป็นไร แต่บางคนกระโดดลงนอน บางคนล้มกระแทกลงนอน จึงส่งผลให้กระดูกบิดหรือเคลื่อนไปกดประสาท ก่อให้เกิดอาการปวดเอว ปวดเข่า ตามมา จึงควรปรับอิริยาบทในการลงนอนให้ถูกต้องด้วยการคลานขึ้นทางท้ายเตียง แล้วลงนอนโดยคว่ำฝ่ามือทั้งสองยันพื้นไว้ (ใช้ฝ่ามือเท่านั้น ห้ามใช้นิ้วทั้ง 5 หรือหลังมือค้ำพื้นเพราะจะทำให้กระดูกนิ้วมือและกระดูกฝ่ามือเคลื่อนได้) และเนื่องจากเรามีการเคลื่อนไหวมาทั้งวัน กระดูกอาจอยู่ผิดที่ไปเล็กน้อยจึงควรจัดกลับเข้าที่ด้วยการบริหารร่างกายในท่างูและท่าเต่าก่อน แล้วจึงลงนอนในท่าคว่ำ จากนั้นจึงกลิ้งไปนอนหงายหรือนอนตะแคง โดยในท่านอนตะแคงต้องมีหมอนข้างรองรับขาที่เหลื่อมก่ายไปข้างหน้าเพื่อไม่ให้กระดูกสันหลังและสะโพกบิด เมื่อตื่นนอนตอนเช้าจะนอนอยู่ในท่าใดก็ตาม ต้องเปลี่ยนเป็นนอนคว่ำบริหารร่างกายใน ท่างูและท่าเต่า อีกรอบ เพื่อปรับสมดุลให้โครงสร้าง เพราะยามที่นอนหลับนั้น เราเองก็ไม่ทราบว่าที่ผ่านมาทั้งคืนเรานอนในท่าไหนนานเท่าไร บางคนอาจนอนตกหมอนจนรู้สึกปวดกล้ามเนื้อที่คอและสบัก การบริหารดังกล่าวจะช่วยให้อาการปวดนี้บรรเทาลงได้ เมื่อบริหารเสร็จ ก็ให้คลานลงจากปลายเตียง แต่ถ้านอนบนพื้นจากท่าคลานนี้ให้ใช้ฝ่ามือทั้งสองยันพื้นยกหัวเข่าทั้งสองขึ้นจากพื้นพร้อมกัน แล้วใช้ฝ่ามือยันตัวยืนขึ้นตรงๆ





2. การลงนั่งและการลุกจากที่นั่ง เมื่อจะลงนั่งบนเก้าอี้ให้ยืนหันหลังขาทั้งสองชิดเก้าอี้ก่อน แล้วใช้ฝ่ามือทั้งสองจับพื้นเก้าอี้ไว้ ค่อยๆ หย่อนก้นลงนั่ง โปรดจำไว้ว่าก้นกบเป็นสิ่งที่ต้องถนอม อย่าให้กระแทกกระทั้นเพราะจะส่งผลให้เกิดพยาธิสภาพต่างๆ ตามมา เช่น กระดูกสันหลังคด ปลายประสาทสันหลังบอบช้ำ เป็นต้น และเมื่อจะลุกจากเก้าอี้ควรดึงเท้าทั้งสองมาวางขนานกันเป็นเลข 11 เสียก่อนแล้วค่อยลุกขึ้น แต่ถ้าบุคคลนั้นปวดเข่าให้บำบัดด้วยอิริยาบทของการลุกจากเก้าอี้ โดยใช้ฝ่ามือทั้งสองจับพื้นเก้าอี้ไว้เลื่อนตัวไปข้างหน้าเหมือนนั่งเกือบตก ย้ายมือทั้งสองมาจับที่เข่าสองข้าง ยกก้นขึ้นดันเข่าไปข้างหลัง นิ่งไว้ครู่หนึ่งแล้วจึงเหยียดตัวขึ้นเดินต่อไปได้ ส่วนการลงนั่งกับพื้นให้ยืนเท้าชิดหรือแยกเป็นเลข 11 ย่อเข่าทั้งสองข้างก้มตัวลงไปข้างหน้าใช้ฝ่ามือทั้งสองยันพื้น ไปอยู่ในท่าคลานเข่า มือยันพื้นถ่างหัวเข่าออกจากกันแล้วไขว้ปลายเท้าใช้มือยันพื้นหย่อนก้นลงนั่งขัดสมาธิ (ศาสตร์นี้ไม่ให้นั่งพับเพียบ เพราะจะทำให้ต้องเกร็งตัวกระดูกสันหลังบิดไปข้างหนึ่ง) การลุกจากท่านั่งพื้นก็ให้ทำย้อนกลับจากท่าลงนั่ง คือให้โน้มตัวไปข้างหน้า ใช้ฝ่ามือทั้งสองยันพื้นไว้ คลายปลายเท้าออกจากการไขว้ ยกเข่าทั้งสองขึ้นจากพื้น ใช้ฝ่ามือทั้งสองยันพื้นดันตัวขึ้นยืน การเข้านั่งในรถยนต์เมื่อเปิดประตูรถแล้วให้วางก้นบนเบาะก่อน เมื่อจะหมุนตัวจากด้านข้างเข้าไปนั่งในรถจึงยกขาทั้งสองตามเข้ารถพร้อมกัน และเมื่อจะลงจากรถก็ให้หมุนตัวออกไปด้านข้างก่อน วางขาทั้งสองลงบนพื้นเสียก่อนแล้วจึงค่อยๆ ลุกขึ้นยืนตรง








 
หากสามารถปรับอิริยาบทหลักๆ ในการนั่ง การนอน และการลุกจากที่นั่งหรือที่นอนตามลักษณะที่กล่าวข้างต้นได้จนกระทั่งเป็นนิสัย ให้สังเกตุว่าอาการปวดเมื่อยต่างๆ ลดลงหรือหายไป และถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น ท่านต้องบริหารร่างกายในท่าต่างๆ ที่แนะนำอย่างสม่ำเสมอคือ


ท่างู เป็นท่าจัดกระดูกสันหลังส่วนล่างให้กลับเข้าที่


ท่าเต่า เป็นท่าจัดกระดูกสันหลังส่วนล่างให้กลับเข้าที่



คำแนะนำในการปฏิบัติตัวตามแนววิชามณีเวช

สิ่งสำคัญในการจัดสมดุลของร่างกายคือการใช้ชีวิตประจำวัน

การนั่ง นอน ยืน เดิน

การนั่ง ห้ามการนั่งพับเพียบ นั่งท่าญี่ปุ่น(เท้าแบะออกสองข้าง) นั่งไขว้ห้าง

นั่งเอนตัวบนโซฟา

ท่าที่ควรนั่ง นั่งตัวตรง ,นั่งไขว้ห้างท่าอาเสี่ย(ขาเป็นเลขสี่) นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่าท่าเทพบุตรท่าเทพธิดา


เวลาจะนั่งควรถอยหลังให้ขาสัมผัสเก้าอี้ที่จะนั่งก่อน แล้วก้มตัวลงจับหัวเข่าสองข้างแล้วหย่อนก้นลงนั่ง

เวลาจะลุกขึ้นควรใช้มือจับเก้าอี้ข้างๆตัว ขยับก้นให้เลื่อนออกมาข้างหน้าก่อน แล้วใช้มือทั้งสองจับเข่าทั้งสองข้าง เอนตัวไปข้างหน้า แล้วลุกขึ้นยืนโดยที่มือยังกุมเข่าไว้สองข้าง เมื่อยืนเรียบร้อยแล้วดันเข่าให้ตึงจึงยืดตัวตั้งตรง


การนอน ห้ามท่านอนคว่ำเด็ดขาด ถ้าจะนอนตะแคงต้องใช้หมอนที่หนาเท่ากับความหนาของไหล่เพื่อช่วยให้คอไม่เอียงหรือคอพับเวลานอน และต้องมีหมอนข้างที่หนาพอควรที่จะช่วยให้สะโพกไม่บิดเมื่อขาวางบนหมอนข้าง
ท่านอนที่ดีที่สุดควรนอนหงาย ใช้หมอนเตี้ยๆรองบริเวณคอ




การขึ้นเตียง ควรขึ้นจากปลายเท้าโดยคลานขึ้น

ใช้ฝ่ามือยันเตียงค่อยคลานขึ้น นอนคว่ำลงกับเตียง เมื่อจะนอนหงายหรือนอนตะแคง

ให้เหยียดมือข้างที่จะหมุนตัวขึ้นเหนือหัว

แล้วยกแขนอีกข้างหมุนไปด้านที่ต้องการพลิก ไม่ใช้มือหรือเท้ายันเตียงให้พลิก

ในทำนองเดียวกันถ้าต้องการลงจากเตียง ให้นอนคว่ำก่อน ให้ยกแขนข้างหนึ่งขึ้น แล้วยกแขนอีกข้างหมุนตัวเป็นนอนคว่ำแล้วค่อยๆคลานลงมาจากเตียง

การยืน ควรยืนสองขาน้ำหนักลงสองข้างเท่ากัน เท้าขนานกันเป็นเลขสิบเอ็ด การยืนพักขาลงน้ำหนักข้างเดียว ต้องสลับข้างกันบ่อยๆ ถ้ายืนด้านใดด้านหนึ่งจะทำให้สะโพกบิดและปวดหลังตามมา
การเดิน เดินให้เท้าขนานกันเป็นเลขสิบเอ็ด อย่าให้ปลายเท้าแบะออก เวลาเดินไปข้างหน้าน้ำหนักลงที่ส้นเท้าก่อน

ถ้าเดินถอยหลังน้ำหนักลงที่ปลายเท้า

ท่าบริหารที่ 1 ท่าไหว้สวัสดี หรือท่ารำละคร


ท่าบริหารที่ 2 ท่าโม้แป้ง

ท่าบริหารที่ 3 ท่าถอดเสื้อ

ท่าบริหารที่ 4 ท่าหมุนแขนกรรเชียง
ท่าบริหารที่ 5 ท่าปล่อยพลัง
ท่าบริหารที่ 6 ท่าขึ้นลงเตียง ท่างู


ท่าบริหารที่ 6 ท่าแมว-ท่าเต่า



                                                                                         จากคำสอน
                                                       แนวทางปฏิบัติของท่านอาจารย์ประสิทธิ์ มณีจิระประการ
เรียบเรียงโดย นายแพทย์นพดล นิงสานนท์

5 พ.ย. 2555

บทความ รางวัลชนะเลิศ เรื่องเล่าจากใจ

บทความ รางวัลชนะเลิศ เรื่องเล่าจากใจ


ชื่อเรื่อง ….Last Kiss….

 เจ้าของผลงาน นางสาวอรุณศรี จันทร์เผือก


หน่วยงาน ห้องผู้ป่วยหนัก อายุรกรรม โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

เบอร์ติดต่อ 036 – 321537 ต่อ 4500 , 086 - 3555837


หลังจากผ่านการขึ้นเวรมาตลอดคืนอย่างเหนื่อยล้าในใจก็เฝ้าคิดว่าเราเกิดมาทำไม.... ทำไมต้องมาทำงานนี้ด้วยงานที่ทั้งหนัก... ทั้งเหนื่อย...พักผ่อนก็ไม่เป็นเวลา ต้องเจอแต่ความทุกข์ทรมานของคนที่เจ็บไข้ หลังจากที่หยุดความคิดที่ทำให้ท้อแท้ใจเหล่านั้นแล้วก็ได้แต่ปลอบใจตัวเองว่า “ เดี๋ยวก็ได้ลงไปพักผ่อนแล้ว วันพรุ่งนี้ค่อยว่ากันใหม่ ” ก่อนก้าวเท้าออกจากตึกสายตาได้เหลือบไปเห็นหญิงวัยกลางคนกำลังร้องไห้ฟูมฟายอย่างควบคุมสติไม่ได้ เธอคือ คุณปราณี ภรรยาของคุณอีริค ผู้ป่วยชาวต่างชาติซึ่งกำลังกระสับกระส่าย กระวนกระวายจากอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว หลังจากป่วยด้วยโรคหัวใจมายาวนานจนยากเกินเยียวยา อาการดำเนินสู่วาระสุดท้ายของชีวิต

หากว่าดิฉันจะก้าวเท้าเดินลงจากตึกไปก็ได้ เพราะเลยเวลาทำงานของดิฉันแล้ว แต่จากการที่ดูแลกันมานาน จากการพูดคุยสอบถามข้อมูลกับคุณปราณี ในทุกๆวันที่เธอมาเยี่ยมสามีของเธอด้วยความรักและห่วงใยเหลือเกิน เธอเล่าว่าสามีของเธอเป็นคนเยอรมัน มีบุตรด้วยกัน 1 คน ตอนนี้ทำงานอยู่เยอรมันภาษาที่เธอใช้กับสามีเป็นภาษาดัตซ์ ส่วนภาษาอังกฤษสามีเธอพอสื่อสารได้เล็กน้อย เธอกับสามีของเธอตั้งใจมาใช้ชีวิตบั้นปลายอยู่ที่ประเทศไทย เพราะสามีของเธอรู้สึกผูกพันและรักประเทศไทยมาก ถึงขนาดเคยบอกกับเธอว่าอยากมาตายที่ประเทศไทย ในช่วงที่อาการของโรคดำเนินมาถึงระยะสุดท้าย ทางทีมที่ให้การดูแลพยายามที่จะค้นหาสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจให้กับคุณอีริค คุณปราณีบอกว่าคุณอีริคไม่ได้ศรัทธาในศาสนาใดๆ แต่คุณอีริคศรัทธาในตัวบุคคล บุคคลที่เขาศรัทธาทำให้เราอดปลาบปลื้มใจไม่ได้ ก็คือ รัชกาลที่ 5 กับ รัชกาลที่ 9 ของเรา เขาบอกว่านั่นคือ My’s Hero ทางทีมเลยอนุญาตให้คุณปราณีได้นำพระบรมฉายาลักษณ์ของทั้ง 2 พระองค์มาตั้งบริเวณข้างเตียง ทุกครั้งที่คุณ อีริคมีอาการการเหนื่อยหอบเราจะเห็นเขาเหลือบมองไปที่พระบรมฉายาลักษณ์ของ 2 พระองค์เหมือนจะขอกำลังใจ
ระหว่างที่คุณอีริคนอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล ภาพที่เราจะเห็นชินตาคือ คุณปราณีนั่งกุมมือคุณอีริคอยู่ไม่ห่างตลอดช่วงเวลาเข้าเยี่ยมท่ามกลางเพลงโปรดภาษาดัตซ์ ที่ทางทีมให้การดูแลอนุญาตให้เธอนำมาเปิดให้สามีเธอฟัง เธอบอกในชีวิตเธอไม่มีญาติพี่น้องที่ไหน คุณอีริคคือทั้งหมดของทั้งชีวิตเธอ ถ้าขาดคุณอีริคไปก็ไม่รู้ว่า เธอจะอยู่ได้อย่างไรและภาพตรงหน้าตอนนี้ คือเธอร้องไห้ฟูมฟายปานจะขาดใจ ไม่รู้จะทำอย่างไรกับสามีที่ใกล้จากเธอไปในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้า ภาพที่คุณอีริคเหนื่อยหอบกระสับกระส่าย เหมือนอยากจะสื่อสารให้เราเข้าใจ
แต่ติดที่เขายังใส่ท่อช่วยหายใจไว้ทำให้พูดสื่อสารกับเราไม่ได้
แต่สายตาที่มองมายังคุณปราณียังแฝงด้วยความเป็นห่วงกังวลเป็นอย่างยิ่ง

ทั้งที่เหนื่อยและเพลียจนแทบจะหมดแรงแต่เมื่อเห็นภาพที่อยู่ตรงหน้านั้น มันเป็นภาพที่ทำให้ดิฉันยากที่จะก้าวเท้าเดินจากไปโดยที่ไม่ทำอะไรให้กับสามีภรรยาคู่นี้ ต้องยอมรับว่าเป็นการยากที่จะเตรียมกิจกรรมวาระสุดท้ายให้กับชาวต่างชาติ ซึ่งต่างกันทั้งทางด้านภาษา ความเชื่อ ความศรัทธา และด้วยทักษะทางด้านภาษาที่ดิฉันมีอยู่น้อยนิด แต่ด้วยความอยากช่วยเหลือเขา ดิฉันเลยพยายามที่จะใช้ภาษาสากล นั่นก็คือภาษากายรวมกับภาษาอังกฤษ ดิฉันเดินเข้าไปสัมผัสมือของคุณปราณีพร้อมกับบีบเบาๆ เพื่อเรียกสติเธอกลับมา “คุณปราณีคะ ทำใจดีๆ ตั้งสติไว้นะคะ ตอนนี้คุณอีริคเขาต่อสู้กับโรคของเขาจนถึงที่สุดแล้ว เราได้ให้การดูแลเขาอย่างดีที่สุด คนที่คุณอีริคเป็นห่วงมากที่สุดตอนนี้ ก็คือคุณกับลูกของคุณ เพราะฉะนั้นตอนนี้คุณต้องเข้มแข็ง และตั้งสติใช้เวลาที่เหลืออยู่ ช่วยกันส่งคุณอีริคให้หมดห่วง หมดกังวล และมีความสุขที่สุดด้วยกันนะคะ ” คุณปราณี หยุดฟูมฟายยกมือขึ้นปาดน้ำตา อีกมือหนึ่งบีบมือตอบดิฉันเบาๆ เป็นสัญญาณว่าเธอได้ตั้งสติแล้ว ดิฉันได้บอกให้คุณปราณี โทรศัพท์ทางไกลไปหาลูกชายที่เยอรมัน เพื่อให้เขาได้พูดกับพ่อเขาเป็นครั้งสุดท้าย คุณปราณีจึงได้รีบโทรศัพท์ไปหาลูกชายในทันที หลังจากนั้นดิฉันจึงจับมือคุณปราณีไปวางบนมือของคุณอีริค แล้วสัมผัสเบาๆ “ Eric This’s your wife hand ” ดิฉันได้บอกกับคุณอีริค ว่า นี่คือ มือของภรรยาคุณนะ... “ She loves you ” เธอรักคุณนะ.... แล้วดิฉันได้ชี้ไปที่พระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 5 กับ รัชกาลที่ 9 ที่ตั้งไว้ที่ข้างเตียง “ And…..that your hero ” และนั่นก็รูปฮีโร่ของคุณนะ…..“ And…. now your son in the line ” และตอนนี้ลูกชายคุณก็อยู่ในสายแล้ว.......“He want to talk with your ” เขาต้องการจะพูดกับคุณ.....

ภาษาอังกฤษอันกระท่อนกระแท่นพร้อมสัมผัสที่พยายามจะทำให้แผ่วเบาที่สุดของดิฉัน ดูเหมือนจะสื่อถึงคุณอีริคได้ คุณอีริคมองตามมาทางโทรศัพท์ที่คุณปราณีเปิด speaker phone ให้เขาฟังด้วยสีหน้าอิดโรย แต่ประกายตาแฝงไปด้วยความดีใจ ลูกของคุณอีริคส่งเสียงผ่านสายโทรศัพท์ ดิฉันไม่รู้ว่าคำพูดนั้นแปลว่าอะไร แต่มันคงเป็นคำพูดที่ทำให้คุณอีริคคลายความกังวลและหมดห่วงลงได้ ดิฉันสังเกตจากแววตาที่เปี่ยมไปด้วยความสุข ทั้งที่ลมหายใจยังหอบเหนื่อย คุณปราณียกมือคุณอีริคขึ้นมาจูบเบาๆพร้อมกับสะอื้นไห้ มันเหมือนมีก้อนขึ้นมาอุดตันบนอกของดิฉัน มันตื้นตันอย่างบอกไม่ถูก และอดที่จะน้ำตาคลอตามภาพที่เห็นตรงหน้าไม่ได้ หากแต่หน้าที่ของดิฉันยังไม่สิ้นสุด ดิฉันต้องดึงสติของตัวเองกลับมาอีกครั้ง “คุณปราณีคะ” ดิฉันพูดพร้อมกับบีบมือคุณปราณีเบาๆ เพื่อเรียกสติคุณปราณี เมื่อเหลือบไปเห็นชีพจรของคุณอีริคที่อ่อนลงเต็มที่ “บอกเขานะคะ ว่าคุณรักเขาแค่ไหน บอกเขาไปว่าคุณเข้มแข็งขนาดไหน เขาจะได้ไม่ห่วงไม่กังวลกับคุณ” คุณปราณีปาดหยาดน้ำตา พลางสูดลมหายใจลึกๆ เหมือนพยายามจะกลั้นความรู้สึกเสียใจเหล่านั้น มือลูบเบาๆบนหลังมือคุณอีริค เธอพูดกับ

31 ต.ค. 2555

การบริการโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ปี 2556

การบริการตรวจรักษา โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

 

  

การยื่นบัตรเพื่อรับการบริการตรวจรักษา



(เริ่มแจกบัตรคิวตรวจโรค เวลา 7.00 น.ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์)

โปรดนำเอกสารมา ดังนี้

• บัตรประจำตัวโรงพยาบาลของผู้ป่วย

• บัตรประจำตัวประชาชน

• สิทธิบัตรต่าง ๆ ด้านการรักษาพยาบาล เช่น บัตรทอง , บัตรประกันสังคม , สิทธิการเข้าร่วมโครงการพิเศษของโรงพยาบาล เป็นต้น

• กรณีมีหนังสือส่งตัวบัตรทองนอกเขตอำเภอเมืองลพบุรีต้องถ่ายสำเนาหนังสือส่งตัว,บัตรทองและ บัตรประชาชนแนบด้วยทุกครั้งที่มาตรวจ

• ถ้ามีใบนัดตรวจจากแพทย์ให้ยื่นด้วยทุกครั้ง

(** กรณีไม่ยื่นสิทธิด้านการรักษาพยาบาลให้

เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลท่านจะต้องชำระเงินเองเท่านั้น)

ด้วยความปรารถนาดีจากประชาสัมพันธ์

โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

  แผนกโรคทั่วไปบริการตรวจรักษาตามรายการดังนี้

• แผนกโรคทั่วไป จันทร์ถึงศุกร์ ตรวจที่โรงพยาบาล พระนารายณ์มหาราชสาขา 1 (บริเวณอำเภอเมืองลพบุรี) (เวลา 08.00 – 16.00 น.)

• คลินิกนอกเวลาจันทร์ถึงศุกร์ ตรวจที่ รพ.พระนารายณ์มหาราช (เวลา 16.30 – 20.0 น.)

• คลินิกนอกเวลา วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ (เช้า เวลา 08.00 – 12.00 น. และเย็นเวลา 18.00 – 22.00 น.)



แผนกผิวหนัง

ติดต่อ 036 – 621537 – 45 ต่อ 2007



บริการตรวจรักษาวันจันทร์ , พุธ , พฤหัสบดี

(เวลา 08.30 – 12.00 น.)

โดย พญ. สุจินดา ฤกษ์วลีกุล

,

แผนก หู คอ จมูก

ติดต่อ 036 – 621537 – 45 ต่อ 2009



บริการตรวจรักษาวันจันทร์ถึงพฤหัสบดี

(เวลา 08.30 – 12.00 น.)

จันทร์และพุธ โดย นพ. ก้องเกียรติ ณ ระนอง(ลาถึง31ธ.ค.55)

อังคารและพฤหัสบดี โดย พญ. ปราณี สุขรวย



แผนกจักษุ (ตา)

ติดต่อ 036 – 621537 – 45 ต่อ 2008

บริการตรวจรักษาวันจันทร์ถึงวันศุกร์

(เวลา 08.30 – 12.00น.)

ตรวจจอประสาทตา จันทร์-ศุกร์ (เวลา 13.30 – 15.00 น.)

แผนกจิตเวช

ติดต่อ 036 – 621537 – 45 ต่อ 2013





บริการตรวจรักษาตามรายการดังนี้

• คลินิกจิตเวช (เวลา 08.00 – 12.00 น.)

วันจันทร์ (รายที่นัด) และวันอังคาร

โดย นพ.วรวิทย์ สัมฤทธิ์ดี

• งานสุขภาพจิต

- สุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น

- สุขภาพจิตหญิงมีครรภ์

- จิตบำบัดและครอบครัวบำบัด



แผนกทันตกรรม

ติดต่อ 036 – 621 537 – 45 ต่อ 2020





ให้บริการตรวจรักษาวันจันทร์ถึงศุกร์

• คลินิกทันตกรรม (07.30 – 16.00 น.)

• คลินิกทันตกรรมนอกเวลา (16.00 – 20.00 น.)

*หมายเหตุคลินิกทันตกรรมนอกเวลา รับบัตรคิวที่ห้องทันตกรรม เวลา 16.00 น.



แผนกแพทย์แผนไทย

ติดต่อ 036 – 621537 – 45 ต่อ 5040



บริการตรวจรักษา เวลา 08.30 - 16.00 น. ณ อาคาร แพทย์แผนไทย ตามรายการดังนี้

วันจันทร์ถึงศุกร์ บริการนวดประคบด้วยสมุนไพร

วันอังคารและวันพฤหัสบดี บริการอบไอน้ำด้วยสมุนไพร



แผนกอายุรกรรม

ติดต่อ 036 – 621537 –45 ต่อ 2005



วันจันทร์ (เช้า) 08.30 – 12.00 น.

โดย พญ.วันเพ็ญ , นพ.สุพรชัย

วันจันทร์ (บ่าย) 13.00 – 16.00 น.

คลินิกโรคปอด

วันอังคาร (เช้า) 08.30 – 12.00 น.

โดย พญ.วันเพ็ญ , พญ.เกศกนก และนพ.สิทธิชัย

วันอังคาร (บ่าย) 13.00 – 16.00 น.

คลินิกโรคไต โดย นพ.ธีรพล

และคลินิกยาต้านไวรัส (พญ.ใกล้รุ่ง)

วันพุธ (เช้า) 08.30 – 12.00 น.

โดย พญ.วันเพ็ญ , พญ.ราตรี และนพ.สิทธิชัย

วันพุธ (บ่าย) 13.00 – 16.00 น.

คลินิกโรคทางเดินอาหาร

วันพฤหัสบดี (เช้า) 08.30 – 12.00

โดย พญ.ราตรี , และนพ.สุพรชัย

วันพฤหัสบดี (บ่าย) 13.00 – 16.00 น.

คลินิกโรคไต โดย นพ.ธีรพล

คลินิกยาต้านไวรัส (พญ.เกศกนก)

วันศุกร์ (เช้า) 08.30 – 12.00 น.

โดย พญ.ใกล้รุ่ง , นพ.สุพรชัย และ นพ.วีรชัย

วันศุกร์ (บ่าย) 13.00 – 16.00 น.

คลินิกวัณโรค (TB)

*หมายเหตุ ผู้มารับบริการรายใหม่ต้องพบแพทย์ที่ แผนกโรคทั่วไปก่อนเข้าระบบนัดอายุรกรรม

**กรณีต้องการเลื่อนนัดผู้ป่วยอายุรกรรม ติดต่อ 036 – 621537 – 45 ต่อ 2222

แผนกศัลยกรรม

ติดต่อ 036 – 621537 – 45 ต่อ 2014



บริการตรวจรักษาตามรายการดังนี้

(เวลา 08.30 – 12.00 น.)

• ศัลยกรรมทั่วไป

วันจันทร์ โดย นพ.นพดล กาญจนะ

วันอังคาร โดย แพทย์เวรตามเดือน

วันพุธ โดย นพ.สุชาติ เอื้อพันธุ์พงศ์

วันพฤหัสบดี โดย นพ.อภิรัตน์ อนุสราภรณ์

• ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ

วันอังคาร,วันศุกร์ โดย นพ.อรรถสิทธิ์ จิตการค้า

• ศัยกรรมระบบประสาท

วันพุธ โดย พญ.ศศิวิมล มงคลสุขไพบูลย์

• ศัลยกรรมตกแต่ง

วันพฤหัสบดี โดย นพ.โชคชัย อมรสวัสดิ์วัฒนา

• คลินิกฝังเข็ม (เวลา 13.00 – 16.00 น.)

วันพุธ โดย นพ.สุชาติ เอื้อพันธุ์พงศ์



แผนกกระดูกและข้อ

ติดต่อ 036 – 621537 –45 ต่อ 2015


บริการตรวจรักษา (เวลา 08.30 – 12.00 น.) ดังนี้

คลินิกกระดูกและข้อ

จันทร์ โดย นพ.ธนะชัย ธัญญกุลสัจจา

อังคาร แพทย์ปรึกษา

พุธ โดย นพ.นรินทร์ โชติรสนิรมิ
พฤหัสบดี โดย นพ.เศกสิทธิ์ สังข์เครือ

ศุกร์ โดย นพ.นรินทร์ โชติรสนิรมิต

และ นพ. นิติพล นวลสาลี

*หมายเหตุ แพทย์นรินทร์รับเฉพาะผู้ป่วยรายที่นัดเท่านั้น หากไม่ได้นัดติดต่อจองนัดล่วงหน้าที่งานประชาสัมพันธ์



แผนกกุมารเวช (เด็ก)

ติดต่อ 036 – 621537 – 45 ต่อ 2006
บริการตรวจรักษาทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์

(เวลา 08.30 – 16.00 น.)



ตรวจสุขภาพเด็กดีและฉีดวัคซีนเด็ก

ติดต่อ 036 – 621537 –45 ต่อ 2011
บริการวันอังคาร และ วันศุกร์

(เวลา 08.30 . 12.00 น.)



แผนกสูติ - นรีเวช และวางแผนครอบครัว

ติดต่อ 036 621537 – 45 ต่อ 2010
บริการตรวจรักษาวันจันทร์ถึงวันศุกร์

(เวลา 08.30 – 12.00 น.)



ฝากครรภ์

ติดต่อ 036 – 621537 – 45 ต่อ 2012
บริการรับฝากครรภ์วันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี

(เวลา 8.30 – 12.00 น.)

25 ส.ค. 2555

มุทิตาจิตานุสรณ์ อาวรณ์รักและอาลัย ๒๕๕๕

มุทิตาจิตานุสรณ์ อาวรณ์รักและอาลัย ๒๕๕๕

น.พ.สุชัย สุทธิกาศนีย์
ผู้อำนวยการโรงพยาบาล

น.พ.กรณาธิป สุพพัตเวช
รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์





รัก อาลัยจากใจน้อง

วาระนี้ ถ้อยวจียากจะเอ่ย

เพราะคนที่คุ้นเคย ต้องอำลาคราเกษียณ

ภาระ คือหน้าที่ พันธะนี้ไม่มีเปลี่ยน

บริการงานพากเพียร อดทนยิ่งทุกสิ่งไป

ตลอดเวลา จะค้นหาสบายไฉน

พยาบาลคนด้วยใจ ช่วยคนไข้ไม่คิดละ

สิ่งใดต้องการเล่า เมตตาเขาคือชัยชนะ

ทุ่มใจเสียสละ เขาพ้นทุกข์ก็สุขใจ

สุขล้น คือเห็นผลอันยิ่งใหญ่

รักษาคนทั้งกายใจ ช่วยคนไข้ด้วยมือสอง

 
ผลงานคือหยาดเหงื่อ ชุ่มโชกเพื่อสุขทั้งผอง

นี่คือทางครรลอง ของบุคลากรพยาบาล

วันนี้ คุณความดีที่สร้างสาน

บรรลุแล้วซึ่งการงาน จนฟันฝ่าสู่เป้าหมาย

เกษียณอย่างสง่า และมีค่าเกินมากมาย

สุดแสนจะเสียดาย และอาลัยสุดอาวรณ์

 
บ้านเรา สุขใดเท่ายามพักผ่อน

ร่วมอยู่ ร่วมกินนอน ดุจดังญาติสนิทนาน

พี่อยู่เราก็รัก เคยพร้อมพรักยิ่งสมาน

บัดนี้พี่จากบ้าน เรารู้สึกแสนอาลัย

จากลา แม้ไกลตาใจชิดใกล้

ขอโชคดีจงมีชัย มโนมัยบริบูรณ์

ถึงพร้อมวรรณะสี่ ปัญญาดีมีเพิ่มพูน

เกียรติยศเจิดจำรูญ สายใยมั่นนิรันดร์กาล

 
ขอประกาศคนดีศรีนารายณ์ เป็นสร้อยสายสืบศรีสถิตสถาน
ประดับเกียรติแห่งโรงพยาบาล อุดมการณ์สืบแก่อนุชน


๑ . นายแพทย์สุชัย สุทธิกาศนีย์                      ผู้อำนวยการคนดีที่สร้างผล

บริหารงานทุ่มเทและอดทน                                  ประชาชนเป็นสุขเกษมดี

๒. นายแพทย์กรณาธิป สุพพัตเวช                  บริหารงานแสนวิเศษสมศักดิ์ศรี

รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ที่แสนดี                 ทุกอย่างที่ประจักษ์แล้วในผลงาน

๓. นายแพทย์อภิชาติ ล้อไพบูลย์ทรัพย์            เรายอมรับในฝีมือบริหาร

หัวหน้ากลุ่มภารกิจพัฒนาระบบบริการ                    ผู้ร่วมงานทุกฝ่ายรักและอาลัย
    
๔. พยาบาลแสงอรุณ ภักดีวงศ์                         เกียรติธำรงประทีปส่องสว่างไสว

สำเร็จแล้วหน้าที่มีวินัย                                           เมตตาให้แก่ประชาน่าชื่นชม

๕. พยาบาลสิริกร อดุลย์บุตร                             งานเร่งรุดก้าวไกลได้เหมาะสม
        
เมตตาธรรมประจำจิตสนิทรมย์                              ชนนิยมพึงใจในบริการ

๖. พยาบาลศิริขจร พุฒประเสริฐ                     ท่านเป็นเลิศวิชาชีพในสถาน

ทุกสิ่งทำด้วยใจที่เบิกบาน                                    อุดมการณ์ช่วยเหลือเพื่อปวงชน

๗. พยาบาลผนา ดำรงพงษ์                            ท่านมั่นคงทำงานบรรลุผล

ดำรงหลักพยาบาลมั่นในตน                                ท่านสุขล้นเพราะได้ช่วยเขาปลอดภัย

๘. พยาบาลฐิติรัตน์ คงคชสิงห์                      ท่านคือหญิงคนแกร่งสู้งานได้

มุ่งทำงานช่วยเหลือทั้งกายใจ                             เป็นผู้ให้ที่แท้แก่ปวงชน


ทั้ง ๘ ท่านเดินทางสู่จุดหมาย ณ เบื้องปลายเกียรติยศปรากฏผล


อีก ๕ ท่านพนักงานผ่านกมล พิสูจน์ตนถึงหน้าที่แห่งหลักชัย


๑. คุณยุพานี กล่ำทอง                        ชาญวาที ถ้อยวจีเสนาะดังฟังเสียงใส

โทรศัพท์โต้ตอบคล่องช่างว่องไว       ข้อมูลได้ครบถ้วนกระบวนความ

๒. คุณพัชรินทร์ ไวยมิตรา                   ช่างน่ารัก คอยช่วยทักช่วยเหลือเอื้อเฟื้อถาม

กิริยาพาทีดูดีงาม                                คนไข้ยามทุกข์ร้อนเธอผ่อนเย็น

๓. คุณสง่าศรี จันทร์ประดิษฐ์             ปฏิบัติการ ทุกเรื่องงานเด่นดีประจักษ์เห็น

อัชฌาสัยน้ำใจชโลมเย็น                   เป็นแบบเช่นควรอย่างแก่น้องๆ

๔. คุณสมจิตร ชอนบุรี                       ควรเชิดชู ท่านรอบรู้เรื่องยาไม่เป็นสอง

ท่านละเอียดถ้วนถี่รู้ตริตรอง              เหล่าน้องๆ ล้วนรักและอาลัย

๕. คุณสมพร ปั้นปัญญา                    ช่วยพยาบาล รักการงานช่วยเหลือเอาใจใส่

ทำงานดีมีเธอก็อุ่นใจ                        ใครชิดใกล้ย่อมนิยมชื่นชมจริง


อีก ๔ ท่าน ขอประกาศควรยกย่อง ท่านจำต้องเออร์รี่จำเป็นยิ่ง

ก่อนกำหนดปลดเกษียณอายุจริง มิได้คิดละทิ้งพวกเราไป

๑. พยาบาลวิไลวรรณ บุตรแพง         งานทุกแห่งทุกที่เอาใจใส่

พยาบาลเทคนิค ชำนาญไกล            จารึกไว้รักนี้มิเปลี่ยนแปลง

๒. พยาบาลรุ่งนภา รัตนางกูร             ถึงพร้อมมูลสามารถอันเข้มแข็ง

งานสำเร็จด้วยดีมิคลางแคลง            ยังเข้มแข็งอุดมคติพยาบาล

๓. คุณโสมอุษา แสงบรรจบ              ชำนาญครบติดต่อเรื่องสื่อสาร

เสียดายยิ่งความเก่งกาจธุรการ          พี่จากนานน้องยังคิดจิตคำนึง

๔. พยาบาลวราพร รัตนโอสถ           จากราชการก่อนกำหนดยังมิถึง

เราพี่น้องยังรักกันอย่างมั่นซึ้ง           ท่านยังเป็นที่ตราตรึงตลอดไป


ด้วยรักและผูกพัน จาก


คณะพยาบาลและเจ้าหน้าที่ กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล

อาจารย์กรเพชร เพชรรุ่ง


รองคณบดีมหาลัยราชภัฏ เชียงใหม่


(ผู้ประพันธ์บทกลอน)


   




12 ส.ค. 2555

สุขสันต์วันแม่ 12 สิงหาคม 2555


บทกลอน ประสานเสียงงามดนตรี

ฉันอาจไม่ใช่ใครที่เธอใช้ทั้งหัวใจค้นหา
ฉันอาจไม่ใช่ดวงดาวบนฟ้าที่เธอแหงนมองดูได้
ฉันเป็นเพียงแสงเล็ก ๆ จากก้านไม้ขีดไฟ
แต่จะหลอมเป็นแสงสว่างสุดท้ายให้เพียงเธอ

ฉันอาจไม่ได้เป็นดอกกุหลาบต้องตาใครต่อใคร
ฉันเป็นเพียงดอกไม้ที่พลิ้วไหวให้เธอยิ้มได้เสมอ
ดอกไม้ไม่มีชื่อในโลกที่ไม่มีใครได้พบเจอ
แต่จะเป็นดอกไม้เดียวที่บานในใจเธอตลอดไป

ฉันอาจไม่ใช่สายฝนโปรย
ฉันเป็นเพียงหยดน้ำที่โบกโบยความอ่อนล้าให้เธอได้
หากแม้เป็นหยดน้ำตา จะหลั่งรินมาให้เธอสบายใจ
รอเวลาเหือดแห้งไป ให้เธอพบวันคืนที่สดใสแสนดี

ฉันอาจไม่ใช่สายลม
แต่ฉันเป็นอณูความห่วงใย ที่เพาะบ่ม ทุกลมหายใจนับจากนี้
ในหัวใจที่ว่างเปล่า...เธออาจไม่มีฉันแล้วก็ตามที
แต่ขอให้รับรู้เถอะคนดี...ทุกความรู้สึกที่ฉันมีจะไม่เปลี่ยนไป...



1 พ.ค. 2555

งานทอดผ้าป่ามหากุศลครบรอบ 55 ปี รพ.พระนารายณ์มหาราช ลพบุรี

ขอเชิญ.....ผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน

"ร่วมงานทอดผ้าป่ามหากุศลครบรอบ 55 ปี

โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช"

             

เพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

จำนวน 55,999 กองๆละ 2,000 บาท

วันจันทร์ ที่ 28 พฤษภาคม 2555

ณ ห้องประชุม ชั้น 6 อาคารผู้ป่วยนอก ห้องผ่าตัดและสำนักงาน(7ชั้น)ใหม่






26 เม.ย. 2555

ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลระดับประเทศ

ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาล ปี 55





ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลระดับประเทศ


สำนักการพยาบาล (กองการพยาบาล เดิม) ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในกระทรวงสาธารณสุขมาอย่างต่อเนื่องทั้งในโรงพยาบาล และในชุมชน ตั้งแต่การกำหนดมาตรฐานการพยาบาล ระดับสถาบัน กำหนดระบบ แนวทาง และกระบวนการประกันคุณภาพการพยาบาล ในการดำเนินงานดังกล่าวได้มีการกำหนดตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาล ทั้งด้านโครงสร้าง กระบวนการ และผลลัพธ์ เป็นส่วนสะท้อนผลการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในระดับหน่วยงาน หลังจากได้ดำเนินการพัฒนาในระยะหนึ่ง สำนักการพยาบาลจึงได้ดำเนินการและสรุปตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลระดับประเทศ 10 ตัวชี้วัด ในโรงพยาบาล และ
 11 ตัวชี้วัดในชุมชนดังนี้




"ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล"



1. การผสมผสานอัตรากำลัง


2. จำนวนชั่วโมงการพยาบาลต่อวันนอนในโรงพยาบาล


3. ความพึงพอใจในการทำงานชองบุคลากรพยาบาล


4. อัตราการเกิดแผลกดทับในโรงพยาบาล


5. อัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล


6. ประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล


7. อัตราการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากการใส่สายสวนปัสสาวะ


8. อัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 28 วัน โดยไม่ได้วางแผน


9. ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อบริการพยาบาลผู้ป่วยนอก และ ผู้ป่วยใน


10. ระยะเวลาวันนอนเฉลี่ยของผู้ป่วยในโรงพยาบาล




"ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในชุมชน"



1. อัตราส่วนพยาบาลวิชาชีพต่อบุคลากรสุขภาพอื่น


2. อัตราส่วนพยาบาลวิชาชีพต่อประชากร


3. ความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ


4. ชั่วโมงการเยี่ยมบ้าน


5. ความครอบคลุมของการประเมินภาวะสุขภาพประชาชน


6. ภาวะสุขภาพครอบครัวในชุมชน


7. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง


8. ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในชุมชน


9. การเกิดแผลกดทับของผู้ป่วยที่บ้าน


10. การลดปัจจัยเสี่ยงในชุมชน


11. การพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยที่บ้าน


ขอเชิญท่านผู้สนใจศึกษาเนื้อหาได้เพิ่มเติมจากหนังสือ “ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล” และ “ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในชุมชน”


จากการประชุมเครือข่ายคุณภาพการพยาบาล “Road to Benchmarking” 4 ภาค ทั่วประเทศ ในปี 2547-2548 สำนักการพยาบาล และเครือข่ายคุณภาพการพยาบาล ได้กำหนดเป้าหมายในการเทียบเคียงคุณภาพการพยาบาล โดยใช้ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาล ทั้งในระดับ หน่วยงาน (เทียบเคียงคุณภาพภายใน) เครือข่ายในจังหวัด และเครือข่ายในเขต โดยมีสำนักการพยาบาลเป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินงาน ขณะนี้อยู่ในระหว่าง การจัดระบบการเทียบเคียง และระบบสารสนเทศ เพื่อรองรับการดำเนินงานดังกล่าว


ขอเชิญชวนให้พยาบาลทุกหน่วยงาน พัฒนาคุณภาพการพยาบาล และใช้ตัวชี้วัดในการสะท้อนคุณภาพการพยาบาลของท่าน (ตามกระบวนการการประกันคุณภาพการพยาบาล: PDCA) และก้าวเข้าสู่ขั้นตอนของการเทียบเคียงคุณภาพการพยาบาลต่อไ






24 เม.ย. 2555

การทำร้ายกระดูกสันหลัง

10 อันดับ การทำร้ายกระดูกสันหลัง



 
อันดับที่ 9

การหิ้วของหนักด้วยนิ้วบ่อยๆ
การหิ้วของหนักด้วยนิ้วบ่อยๆ จะมีผลทำให้มีพังผืดยึดตามข้อนิ้วมือ
 
อันดับที่ 8
การสะพายกระเป๋าหนักข้างเดียว
ไม่ควรสะพายกระเป๋าข้างใดข้างหนึ่งต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนเป็นการถือกระเป๋า โดยใช้ร่าง กาย ทั้ง 2 ข้างให้เท่าๆ กัน อย่าใช้แค่ข้างใดข้างหนึ่งตลอด เพราะจะทำให้ต้องทำงานหนักอยู่เพียงซีกเดียว ส่งผลให้กระดูกสันหลังคดได้


อันดับที่ 7
การใส่ส้นสูงเกิน 1 นิ้วครึ่ง
จะทำให้แนวกระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติ ซึ่งจะนำมาสู่อาการปวดหลัง

อันดับที่ 6
การยืนแอ่นพุง/หลังค่อม
ควรยืนหลังตรง แขม่วท้องเล็กน้อย เพื่อเป็นการรักษาแนวกระดูกช่วงล่างไม่ให้แอ่นและทำให้ไม่ปวดหลัง


อันดับที่ 5
การยืนพักขาลงน้ำหนักด้วยขาข้างเดียว
การยืนที่ถูกต้องควรลงน้ำหนักที่ขาทั้ง 2 ข้างเท่าๆ กัน โดยยืนให้ขากว้างเท่าสะโพกจะทำให้เกิดความสมดุลของโครงสร้างร่าง กาย


อันดับที่ 4
. การนั่งเบาะเก้าอี้ไม่เต็มก้น
ทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานหนัก เพราะฐานในการรับน้ำหนักตัวแคบ


อันดับที่ 3
การนั่งหลังงอ
การนั่งหลังงอ หลังค่อม เช่น การอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานๆ เป็นชั่วโมง จะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง เกิดการคั่งของกรดแลกติค มีอาการเมื่อยล้า ปวด และมีปัญหาเรื่องกระดูกผิดรูปตามมา

อันดับที่ 2
การนั่งกอดอก
ทำให้หลังช่วงบน สะบัก และหัวไหล่ ถูกยืดยาวออก หลังช่วงบนค่อมและงุ้มไปด้านหน้า ทำให้กระดูกคอยื่นไปด้านหน้า มีผลต่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแขน อาจทำให้มืออ่อนแรง หรือชาได้


อันดับที่ 1
การนั่งไขว่ห้างจะทำให้น้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่ง เป็นผลให้กระดูกคด

สาสน์จากนายกสภาการพยาบาล :

สาสน์จากนายกสภาการพยาบาล

วิชาชีพการพยาบาลยังเป็นวิชาชีพที่ขาดแคลน

 

เรียน    สมาชิกสภาการพยาบาลทุกท่าน


           ตามที่สภาการพยาบาลได้รับ Forward mail เกี่ยวกับการตัดวิชาชีพการพยาบาลออกจากวิชาชีพที่ขาดแคลนนั้น สภาการพยาบาลได้สอบถามเรื่องนี้กับสำนักงานก.พ.โดยตรง สำนักงานก.พ. ได้ตรวจสอบและแจ้งเมื่อวันที่10 เมษายน 2555 ว่า ข้อมูลที่ว่าวิชาชีพการพยาบาลมิใช่วิชาชีพ ขาดแคลนเป็นเรื่องเก่าตั้งแต่พ.ศ.2547-2548 และเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ยังไม่ได้วิเคราะห์ในรายละเอียดของข้อเท็จจริง สำนักงานก.พ.จึงไม่ได้มีการพิจารณาในประเด็นนี้      สาขาพยาบาลศาสตร์ยังอยู่ใน List วิชาชีพขาดแคลนของก.พ.

          ดังนั้น สภาการพยาบาลจึงขอเรียนให้ทราบว่าวิชาชีพ การพยาบาลยังเป็นวิชาชีพที่ขาดแคลน และขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้มีการผลิตเพิ่มอีกปีละ 2,000 คน เป็นเวลา 6 ปี เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข

           จึงเรียนให้สมาชิกสภาการพยาบาลทุกท่านได้รับทราบข้อมูลเบื้องต้น หากสมาชิกมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้จากสภาการพยาบาลโดยตรง

 

                                             ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วิจิตร ศรีสุพรรณ

                                นายกสภาการพยาบาล


 

 

สภาการพยาบาล อาคารนครินทรศรี ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข

ถ.ติวานนท์ อ.เมือง

จ.นนทบุรี 11000

โทรศัพท์ 02-596-7500 โทรสาร 0-2589-7121

E-mail : office@tnc.or.th

All right reserved by http://www.tnc.or.th/

ติดต่อเว็บมาสเตอร์ E-mail : webmaster@tnc.or.th

 








31 มี.ค. 2555

ปาฐกถาพิเศษโดยนายกรัฐมนตรี "นโยบายรัฐบาลต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า"


ปาฐกถาพิเศษโดยนายกรัฐมนตรี "นโยบายรัฐบาลต่อ
ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า"

26 มีนาคม 2555

 จัดโดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับ สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) สำนักงานพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ (สพคส.) เครือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และองค์กรภาคีด้านสุขภาพ

19 มี.ค. 2555

จรรยาบรรณวิชาชีพ

จรรยาบรรณวิชาชีพ


การพยาบาลเป็นการปฏิบัติโดยตรงต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคม นับได้ว่าเป็นบริการในระดับสถาบันของสังคม ดังนั้นผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลจึงต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง เป็นผู้ที่ไว้วางใจได้ มีความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติ มีจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นแนวทางในการประพฤติและปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของสังคมโดยส่วนรวม

1.จรรยาบรรณวิชาชีพ

จรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับพยาบาลเป็นการประมวลหลักความประพฤติให้บุคคลในวิชาชีพยึดถือปฏิบัติ สมาคมพยาบาลแห่งสหรัฐอเมริกา (The America Nurses Associations A.N.A.) ได้กำหนดสาระสำคัญของจรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาลไว้ดังนี้
1) พยาบาลพึงให้บริการพยาบาลด้วยความเคารพในศักดิ์ศรี และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยไม่จำกัด ในเรื่อง สถานภาพทางสังคม เศรษฐกิจ คุณสมบัติเฉพาะกิจหรือสภาพปัญหาทางด้านสุขภาพอนามัยของผู้ป่วย
2) พยาบาลพึงเคารพสิทธิส่วนตัวของผู้ป่วยโดยรักษาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยไว้เป็นความลับ
3) พยาบาลพึงให้การปกป้องคุ้มครองแก่ผู้ป่วย สังคม ในกรณีที่มีการให้บริการสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย ถูกกระทำการที่อาจเกิดจากความไม่รู้ ขาดศีลธรรม จริยธรรม หรือการกระทำที่ผิดกฎหมายจากบุคคลหนึ่งบุคคลใด
4) พยาบาลมีหน้าที่รับผิดชอบในการตัดสินใจและให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยแต่ละราย
5) พยาบาลพึงดำรงไว้ซึ่งสมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาล
6) พยาบาลพึงตัดสินใจด้วยความรอบคอบถี่ถ้วน ใช้ข้อมูลสมรรถนะและคุณสมบัติอื่นๆ เป็นหลักในการขอคำปรึกษาหารือ ยอมรับในหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมถึง การมอบหมายกิจกรรมการปฏิบัติการพยาบาลให้ผู้อื่นปฏิบัติ
7) พยาบาลพึงมีส่วนร่วมและสนับสนุนในกิจกรรมการพัฒนาความรู้เชิงวิชาชีพ
8) พยาบาลพึงมีส่วนร่วมและสนับสนุนในการพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล
9) พยาบาลพึงมีส่วนร่วมในการที่จะกำหนดและดำรงไว้ซึ่งสถานะภาพของการทำงานที่จะนำไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพสูง
10) พยาบาลพึงมีส่วนร่วมในการปกป้อง คุ้มครอง สังคม จากการเสนอข้อมูลที่ผิด และดำรงไว้ซึ่งความสามัคคีในวิชาชีพ
11) พยาบาลพึงร่วมมือและเป็นเครือข่ายกับสมาชิกด้านสุขภาพอนามัยและบุคคลอื่นๆในสังคมเพื่อส่งเสริมชุมชนและสนองตอบความต้องการด้านสุขภาพอนามัยของสังคมสำหรับสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ได้กำหนดจรรยาบรรณวิชาชีพของสมาคม พ.ศ. 2528 มุ่งเน้นให้พยาบาลได้ประพฤติปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยกำหนดเป็นความรับผิดชอบต่อประชาชน ความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ ต่อผู้ร่วมวิชาชีพและต่อตนเองดังนี้


จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อประชาชน

1. ประกอบวิชาชีพด้วยความมีสติ ตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
2. ปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความเสมอภาคตามสิทธิมนุษยชน โดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ ศาสนา และสถานภาพของบุคคล
3. ละเว้นการปฏิบัติที่มีอคติ และการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน
4. พึงเก็บรักษาเรื่องส่วนตัวของผู้รับบริการไว้เป็นความลับ เว้นแต่ด้วยความยินยอมของผู้นั้นหรือเมื่อต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
5. พึงปฏิบัติหน้าที่โดยใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ในการวินิจฉัยและการแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยอย่างเหมาะสมแก่สภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน
6. พึงป้องกันภยันตรายอันจะมีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน

จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อสังคมและประเทศชาติ

1. พึงประกอบกิจแห่งวิชาชีพให้สอดคล้องกับนโยบายอันยังประโยชน์แก่สาธารณชน
2. พึงรับผิดชอบร่วมกับประชาชนในการริเริ่ม สนับสนุนกิจกรรมที่ก่อให้เกิดสันติสุข และยกระดับคุณภาพชีวิต
3. พึงอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ
4. พึงประกอบวิชาชีพโดยมุ่งส่งเสริมความมั่นคงของชาติ ศาสนา และสถาบันกษัตริย์


จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อวิชาชีพ

1. พึงตระหนักและถือปฏิบัติในหน้าที่ความรับผิดชอบตามหลักการแห่งวิชาชีพการพยาบาล
2. พัฒนาความรู้และวิธีปฏิบัติให้ได้มาตรฐานแห่งวิชาชีพ
3. พึงศรัทธาสนับสนุนและให้ความร่วมมือในกิจกรรมแห่งวิชาชีพ
4. พึงสร้างและธำรงไว้ซึ่งสิทธิอันชอบธรรม ในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล
5. พึงเผยแพร่ชื่อเสียงและคุณค่าแห่งวิชาชีพให้เป็นที่ปรากฏแก่สังคม


จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อผู้ร่วมวิชาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพอื่น

1. ให้เกียรติ เคารพในสิทธิและหน้าที่ของผู้ร่วมวิชาชีพและผู้อื่น
2. เห็นคุณค่าและยกย่องผู้มีความรู้ ความสามารถในศาสตร์สาขาต่างๆ
3. พึงรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดี กับผู้ร่วมงานทั้งภายในและภายนอกวิชาชีพ
4. ยอมรับความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ และชักนำให้ประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควร
5. พึงอำนวยความสะดวกและให้ความร่วมมือแก่ผู้ร่วมงานในการปฏิบัติภารกิจอันชอบธรรม
6. ละเว้นการส่งเสริมหรือปกป้องผู้ประพฤติผิด เพื่อผลประโยชน์แห่งตนหรือผู้กระทำการนั้นๆ


จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อตนเอง

1. ประพฤติตนและประกอบกิจแห่งวิชาชีพ โดยถูกต้องตามกฎหมาย
2. ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ
3. ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งในด้านการประกอบกิจแห่งวิชาชีพและส่วนตัว
4. ใฝ่รู้พัฒนาแนวคิดให้กว้าง และยอมรับการเปลี่ยนแปลง
5. ประกอบกิจแห่งวิชาชีพด้วยความเต็มใจ และเต็มกำลังความสามารถ
6. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมีสติ รอบรู้ เชื่อมั่นและมีวิจารณญาณอันรอบคอบ



2. ข้อมูลจากการวิจัยที่เกี่ยวกับคุณภาพบริการพยาบาลและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามความคาดหวังของผู้ใช้บริการ

จากการพัฒนารูปแบบของกรอบแนวคิดของคุณภาพบริการและระเบียบวิธีการวัดการรับรู้คุณภาพบริการของผู้รับบริการของ Parasura man , Zeithaml และ Berry (1985 อ้างในพัชรี ทองแผ่.2500) พบว่า ในการรับบริการผู้รับบริการใช้เกณฑ์ 5 ประการ ในการกำหนดคุณภาพบริการ คือ
1) ความเป็นรูปพรรณของบริการ (Tangibles)
2) ความไว้วางใจได้ (Reliability)
3) การตอบสนองต่อผู้รับบริการทันที (Responsiveness)
4) ความน่าเชื่อถือ (Assurance)
5) การเข้าใจและรู้จักผู้รับบริการ (Emphathy) และจากการศึกษาวิจัยในประเทศไทยเกี่ยวกับการรับรู้และควาดคาดหวังของผู้ใช้บริการพยาบาลผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการที่เข้ามารับบริการพยาบาลส่วนมากไม่มีความเชิงวิชาชีพดังนั้นเมื่อเข้ามารับบริการจึงมุ่งหวังเพียงความถูกต้องและความถูกใจของบริการที่จะได้รับซึ่งคุณภาพของงานบริการที่ผู้ป่วย/ผู้ใช้บริการคาดหวังจะได้จากบริการพยาบาล คือ
(1) การได้รับบริการที่ดี ผู้ใช้บริการมีความรู้
(2) การได้รับบริการที่ถูกต้อง เหมาะสม และรวดเร็ว
(3) การบริการที่มีความปลอดภัย ได้มาตรฐาน
(4) การได้รับการดูแลที่เอื้ออาทร เอาใจใส่ มีอัธยาศัย
(5) ความเชื่อมั่นและไว้วางใจได้รวมถึงความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ
(6) การสื่อสารที่เข้าใจ


นอกจากนี้จากการศึกษายังพบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ใช้บริการมีความคาดหวังแตกต่างกันประกอบด้วย
1. ความคาดหวังที่เกิดจากการบอกเล่าปากต่อปาก
2. ความคาดหวังที่เกิดจากความต้องการส่วนตัวของผู้รับบริการ ซึ่งเป็นความต้องการของแต่ละบุคคลและมีความแตกต่างกันตามภูมิหลังของบุคคลนั้น เช่น เพศ อายุ รายได้ อาชีพ ระดับการศึกษา
3. ความคาดหวังที่เกิดจากประสบการณ์ในอดีต
4. ความคาดหวังที่เกิดจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์ของผู้ให้บริการ



จากการศึกษาวิเคราะห์ของทีมแกนนำทั้ง 4 ภาคพบว่าภาพลักษณ์ของผู้ประกอบวิชาชีพ ประกอบด้วย
1. บุคลิกภาพดี
2. กริยาท่าทาง สุภาพ อ่อนโยน กระตือรือร้น
3. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
4. มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออก
5. มีความรู้
6. เสียสละ
7. มีคุณภาพ และจริยธรรมประจำใจ
8. กล้าตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้
9. รักษาสิทธิผู้ใช้บริการ