nursekingnarai hospital lopburi

15 ต.ค. 2554

สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดลพบุรี

สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดลพบุรี
ข่อมูลจากศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินถล่ม จังหวัดลพบุรี 2554 14 ตุลาคม 2554


สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดลพบุรีได้เกิดสถานการณ์น้ำท่วม
ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน ๒๕๕4

เป็นต้นมา โดยแบ่งเป็น 2 สาเหตุ


1. ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในพื้นที่จังหวัดลพบุรีตั้งแต่วันที่ 9-12 กันยายน 2554 ทำให้เกิด


น้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่ 11 อำเภอ โดยปริมาณน้ำ ฝนมากที่สุดที่อำ เภอหนองม่วง และอำ เภอสระโบสถ์


วัดได้ ๑30 มม. และพื้นที่อีกหลายอำเภอมีปริมาณฝนที่ตกมากกว่า ๑๐๐ มม.ทำให้น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ราบลุ่ม


ในเขตชุมชนเมืองสร้างความเสียหาย ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมจากกรณีฝนตกเริ่มคลี่คลายแล้ว


2. น้ำท่าเนื่องจากสาเหตุความชำรุดประตูระบายน้ำบางโฉมศรี อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ชำรุดตั้งแต่


วันที่ 13 กันยายน คันกั้นน้ำเจ้าพระยาที่ อ.มโนรมย์ อ.เมือง จ.ชัยนาท และทางน้ำล้นของเขื่อนเจ้าพระยาล้น


(spillway) อ.เมือง จ.ชัยนาท ที่สำคัญรวม 5 จุด จึงทำให้น้ำล้นเข้าสู่พื้นที่ราบลุ่มในเขตพื้นที่จังหวัดลพบุรีจำนวน


วันละประมาณกว่า 70 ล้าน ลบ.ม. ทำให้น้ำท่วมพื้นที่ลพบุรีพื้นที่นากว่า 417,811 ไร่ ซึ่งปริมาณน้ำที่อยู่ในพื้นที่


กว่า 1,800 ล้าน ลบ.ม. สร้างความเสียหายให้อย่างมาก ซึ่งสถานการณ์มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มความรุนแรงสูงขึ้นเป็นลำดับ
สถานการณ์สำคัญ
-อำเภอเมืองลพบุรี น้ำท่วมสูงประมาณ 1.0๐-6.03 ม. ได้แก่ ต.ทะเลชุบศร ป่าตาล ท่าแค เขาพระงาม
บ้านข่อย สี่คลอง พรหมมาสตร์ บางขันหมาก โคกลำพาน ดอนโพธิ์ โพธิ์เก้าต้น โก่งธนู งิ้วราย ถนนใหญ่ ท้ายตลาด โพธิ์ตรุฯลฯ


-อำเภอบ้านหมี่ น้ำท่วมสูงประมาณ 1.00-4.03 ม. ได้แก่ ต.หนองเมือง พุคา บางขาม มหาสอน บ้านชี


บางพึ่ง ไผ่ใหญ่ สนามแจง สายห้วยแก้ว หนองเต่า โพนทอง ฯลฯ


-อำเภอท่าวุ้ง น้ำท่วมสูงประมาณ 1.00 – 3.53 ม. ได้แก่ ทต.ท่าโขลง ทต.ท่าวุ้ง ต.เขาสมอคอน บางคู้ ลาดสาลี่ บางลี่


โพตลาดแก้ว โคกสลุด บางงา บ้านเบิก มุจลินทร์ หัวสำโรง ฯลฯ


จังหวัดลพบุรีมีพื้นที่เกิดอุทกภัย 11 อำเภอ 22 ตำบล 1,097 หมู่บ้าน 83 ชุมชนประกอบด้วย


อำเภอเมืองลพบุรี บ้านหมี่ ชัยบาดาล พัฒนานิคม ท่าหลวง ท่าวุ้ง โคกสำโรง หนองม่วง ลำสนธิ สระโบสถ์


และอำเภอโคกเจริญ และได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว 11 อำเภอ ๑22 ตำบล 1,097 หมู่บ้าน 83 ชุมชนฯลฯ

ด้านผู้ประสบภัย
ผู้ประสบภัยทั้งสิ้น 74,509 ครัวเรือน 203,525 คน (สำรวจครัวเรือนช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินครัวเรือนละ ๕,๐๐๐ บาท จำนวน 65,949 ครัวเรือนผู้เสียชีวิต จำนวน 22 ราย สาเหตุจมน้ำ 19 ราย ไฟฟ้าช๊อต 3 ราย

ด้านการเกษตร
เกษตรกร 22,791 ราย พื้นที่นาประมาณ 350,803 ไร่ พืชไร่ 171,522 ไร่ พืชสวน 6,596 ไร่
รวมพื้นที่ประสบภัย 528,921 ไร่

ด้านปศุสัตว์ , ประมง
เกษตรกร 11,787 ราย แปลงหญ้า 716 ไร่ สัตว์เลี้ยง (โค กระบือ สุกร ฯลฯ) 37,073 ตัว สัตว์ปีก
1,571,016 ตัว สัตว์เลี้ยงอื่น ๆ 1,853 ตัว บ่อปลา 1,041 บ่อ เนื้อที่ 3,043 ไร่ ปลา 4,489,500 ตัว

สถานการณ์น้ำ( 14 ต.ค. ๕๔)
-คลองชัยนาทป่าสัก(ประตูน้ำมโนรมย์) เข้า 37.65 ม.๓ วินาที
-ปริมาณน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ปริมาณ 1,043.68 ล้าน ลบ.ม. (คิดเป็น 132.95%)
ของความจุอ่างฯที่ระดับเก็บกักปกติ (น้ำไหลลงอ่าง 51.07 ล้าน ลบ.ม.ระบาย 30.31 ล้านลบ.ม.)
-เขื่อนเจ้าพระยาระบาย 3,616 ม.3 วินาที )
ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินถล่ม จังหวัดลพบุรี 2554 14 ตุลาคม 2554

ด้านสิ่งสาธารณประโยชน์

ถนน 402 สะพาน 1 แห่ง วัด 179 แห่ง โรงเรียน 104 แห่ง( นักเรียนประสบภัย 15,392 คน )

สถานที่ราชการ 35 แห่ง

แนวทางการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น

1. อำ เภอเมืองลพบุรีขณะนี้ได้อพยพราษฎรจำ นวน 59 จุด 8,270 ครัวเรือน

27,482 คน

2. อำเภอบ้านหมี่ ขณะนี้ได้อพยพราษฎรจำนวน 44 จุด จำนวน 1,035 ครัวเรือน

3,507 คน

3. อำเภอท่าวุ้ง ขณะนี้ได้อพยพราษฎรจำนวน 32 จุดจำนวน 5,630 คน

รวมขณะนี้ได้มีการอพยพประชาชนแล้ว ๓ อำเภอ คือ อำเภอเมืองลพบุรี อำเภอท่าวุ้ง และ

อำเภอบ้านหมี่ จำนวน ๑๓๕ จุด ราษฎร ๓๖,๖๑๙ คน

การแจกจ่าย

-ถุงยังชีพจำนวน 130,000 ถุง ยาและเวชภัณฑ์ 149,722 ชุด ผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจรักษา

จาก สสอ. 33,141 คน น้ำดื่ม 300,000 ขวด

-เรือไฟเบอร์ ที่นั่ง จำนวน 1,450 ลำ

-เรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์ จำนวน 125 ลำ , ไม่มีเครื่อง 26 ลำ

-สุขาเคลื่อนที่ฉุกเฉิน 5,733 ชุด –สุขาลอยน้ำ 165 หลัง

-เต็นท์ยกพื้น 500 หลัง เต็นท์ส่วนบุคคล 1,000 หลัง

ด้านวัสดุอุปกรณ์

-เครื่องสูบน้ำเพื่อระบายน้ำลงคลองชลประทานจำนวน ๔๒ เครื่องเครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจำนวน 11 เครื่อง

-รถผลิตน้ำดื่ม จำนวน 2 คัน จาก ศปภ.เขต 16 ชัยนาท และ ศปภ.เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์

-รถไฟฟ้าส่องสว่าง จำนวน ๒ คัน จาก ศปภ. เขต ๑๖ ชัยนาท และ ศปภ.เขต 2 สุพรรณบุรี กรม ปภ.

- รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ 145 คัน

-รถแบ็คโฮ 10 คัน

- กระสอบทราย จำนวน 492,000 กระสอบ , -ทราย จำนวน ๑,550 คิว

ด้านกำลังคน

-บุคลากรจาก ศ.ปภ.เขต ๑๖ ชัยนาท, ศ.ปภ.เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ , ศปภ.เขต 6 ขอนแก่น, ศปภ.เขต ๘

กำแพงเพชร ศปภ.เขต 2 สุพรรณบุรี,ศ.ปภ. เขต 11 สุราษฎร์ ธานี . ศปภ.เขต 1 ปทุมธานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๑๕๐ คน

-สรรพกำลังของทหาร จำนวน ๑,6๕๐ นาย ตำรวจ 414 นาย เจ้าหน้าที่พลเรือน 250 นาย เจ้าหน้าที่

สาธารณสุข 6๐ คน อปพร./อสม./มูลนิธิ/ภาคเอกชน 500 คน

รวมบุคลากรที่ปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน 3,024 คน

ด้านการคมนาคม  ถนนที่ไม่สามารถสัญจรไปมาได้


กรมทางหลวง

-ทางหลวงหมายเลข 311 ลพบุรี –สิงห์บุรี (บ้านพรหมมาสตร์ บางขันหมาก , โพธิ์ตลาดแก้ว)

-ทางหลวงหมายเลข 311 เลี่ยงเมืองลพบุรี (บ้านโพธิ์เก้าต้น , บ้านตะลุง , บ้านโพธิ์ตลาดแก้ว)

กม.93+500 (ต่อเขต สน.บท.อยุธยา-อ่างทอง) ที่หลักกิโลเมตรที่ 77+480+820 (บริเวณหน้าวัดโพธิ์เก้าต้น)

-ทางหลวงหมายเลข 3196 ลพบุรี – บ้านแพรก (บ้านโพธิ์เก้าต้น , บ้านตะลุง , บ้านงิ้วราย และบ้านโก่งธนู

ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินถล่ม จังหวัดลพบุรี 2554 14 ตุลาคม 2554

กรมทางหลวงชนบท

-สายบ้านกล้วย – วัดมะขามเฒ่า อ.บ้านหมี่

-แยก ทล.3028 – บ.เกริ่นกฐิน ต.บ้านชี อ.บ้านหมี่

-สาย ม.3 เขาหมอนอิง ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง

-สาย หมู่ 2,4,5 ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง

- สาย บ.ไดโสน – บ.โก่งธนู ต.ดอนโพธิ์ อ.เมืองลพบุรี

-แยกทางหลวงหมายเลข 1 –บ้านดงพลับ , แยกทางหลวงหมายเลข 3196-บ้านหนองระแหง

บ้านท่าวุ้ง-บ้านหนองปลาดุก , แยกทางหลวงหมายเลข 3196-บ้านบางลี่ , แยกทางหลวงหมายเลข 3196-

บ้านบางอิฐ , แยกทางหลวงหมายเลข 3028-บ้านหนองปลาดุก , แยกทางหลวงหมายเลข 3027-วัดพรหมมาสตร์,

แยกทางหลวงหมายเลข 3196-บ้านโพธิ์ตลาดแก้ว , แยกทางหลวงหมายเลข 3028-บ้านเขาสาริกา ,แยกทางหลวง

หมายเลข 311-บ้านโพธิ์ผีให้ , แยกทางหลวงหมายเลข 3028- รร.บ้านหมี่ , แยกทางหลวงชนบท ลบ. 4132-

บ้านท่าแค , บ้านไผ่หน้ากระดาน – บ้านข่อยใต้ , รวมทั้งสิ้น 21 สายทาง

กรณีประสบภัยซ้ำซ้อนไฟไหม้บ้านขณะน้ำท่วม

1. นางเป้า ผลงาม อายุ 80 ปี บ้านเลขที่ 57 หมู่ 8 ต.บางงา อ.ท่าวุ้ง บ้านเสียหายทั้งหลัง จังหวัดได้ให้การ

ช่วยเหลือโดยมอบเงิน ๓๙,๕๐๐ บาท และนายกรัฐมนตรีได้เยี่ยมเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๔ โดยจะมอบเงินช่วยเหลือเพิ่มเติม-

ความต้องการช่วยเหลือของจังหวัดลพบุรี

1. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนจังหวัดลพบุรีเป็นจำนวนมากต้องการให้รัฐบาลหาทางช่วยแก้ไขปัญหาประตู

ระบายน้ำบางโฉมศรีและจุดอื่นๆ ที่ขาดเสียหายในจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี ซึ่งมีผลกระทบทำให้น้ำจำนวนมากไหลเข้าท่วมพื้นที่จังหวัดลพบุรี

2. เรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์และคนขับเพิ่มเติม ๒๐๐ ลำ เรือพาย จำนวน ๑,๐๐๐ ลำและเสื้อชูชีพ 15,000 ตัว

3. ห้องส้วมแบบตู้ลอยน้ำ จำนวน ๕๐๐ ชุด

4. น้ำดื่ม อาหาร เพื่อดูแลผู้ประสบภัยในเวลาไม่ต่ำกว่า ๔๕ วัน

ข้อมูลระดับน้ำ ณ วันที่ 13 ตุลาคม 2554 เวลา 16.00 น.

นครสวรรค์ สถานีที่ c2 ระดับ +26.87 ม.ร.ทก. 4,686 ลบ.ม. / วินาที

เขื่อนเจ้าพระยา ระดับเหนือน้ำ +17.80 ม.รทก. ท้ายน้ำ +17.61 ม.รทก.
ผ่าน 3,625 ลบ.ม./วินาที

ปตร.บางลี่ ระดับ +10.80 ม.รทก. ขึ้น 1 เซนติเมตร

ปตร.วัดมณีชลขัณฑ์ ระดับ +10.53 ม. รทก. เท่าเดิม

โพธิ์เก้าต้น ระดับ +10.16 ม.รทก. เท่าเดิม

ปริมาณน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ปริมาณ 1,025.63 ล้าน ลบ.ม.(คิดเป็น 130.65%) ของความจุอ่างฯที่ระดับเก็บกักปกติ

(น้ำไหลลงอ่าง 58.41 ล้าน ลบ.ม.ระบาย 47.52 ล้านลบ.ม.)

ข้อมูล ณ วันที่ 14 ตุลาคม 2554เวลา 07.35 น.

สถานการณ์น้ำลพบุรี เมื่อ 17 ต.ค.54 (ล่าสุด)
 
17 ตค 54/ นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี พร้อมด้วย พล.ท.ศุภรัตน์ พัฒนาพิสุทธ์ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จังหวัดลพบุรีขึ้นบินสำรวจสภาพน้ำท่วมใน 3 อำเภอของจังหวัดลพบุรีคืออำเภอบ้านหมี่ อำเภอท่าวุ้ง อำเภอเมืองลพบุรียาวไปจนถึงเขื่อนเจ้าพระยาและประตูระบายน้ำมโนรมย์ของจังหวัดชัยนาท ซึ่งจากการบินสำรวจพบว่าในพื้นที่ของ 3 อำเภอของจังหวัดลพบุรีนั้นมีน้ำท่วมสูงและหลายตำบลที่ถูกน้ำท่วมนั้นไม่มีพื้นดินให้ชาวบ้านอยู่เนื่องจากถูกน้ำท่วมทั้งหมด
นอกจากนี้จากการบินสำรวจยังพบว่าตั้งแต่เขื่อนเจ้าพระยาลงมาถึงจังหวัดลพบุรีพบว่าหลังจากปิดประตูบางโฉมศรีที่แตกได้แล้วทำไมน้ำในพื้นที่จังหวัดลพบุรีถึงยังไม่ยอมทรงตัวและยังมีน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอีก เมื่อบินขึ้นดูทางอากาศจึงได้พบว่ามีรอยแตกของคันดินเพิ่มอีก 3 จุด คือ คันดินคันคะนนและเขากระดี่ในจังหวัดชัยนาท และคันดินท่างามในอำเภออินทร์บุรีจังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งเป็นรอยแตกใหม่ของคันดินซึ่งจุดนี้อยู่ห่างจากประตูน้ำบางโฉมศรีไม่มากนักมีความยาวประมาณ 100 เมตรทำให้ปริมาณน้ำยังคงไหลทะลักเข้ามาในพื้นที่ของจังหวัดลพบุรีอย่างต่อเนื่องทำให้ต้องมีการปรับแผนใหม่เพื่อดูแลชาวบ้านของจังหวัดลพบุรีเพราะเมื่อพบรอยแตกใหม่ก็จะทำให้น้ำยังคงขึ้นสูงอย่างต่อเนื่องและจะยังจะไม่ลดลงง่ายอย่างแน่นอน
โดยนายฉัตรชัย พรหมเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เปิดเผยว่า ขณะนี้น้ำได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในฝั่งตะวันตกที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมจากประตูน้ำบางโฉมศรีที่แตกตั้งแต่วันที่ 13 กันยายนที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้น้ำก็ยังเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยวันละ 2-5 เซนติเมตร ทำให้ทหารที่นำรถวิ่งรถส่งชาวบ้านในอำเภอบ้านหมี่บนถนนสายท่าโขลง-บ้านหมี่จำเป็นต้องถอนกำลังออกมาเป็นทีมสุดท้ายแล้วหลังบนถนนมีน้ำท่วมสูงจนรถไม่สามารถวิ่งได้แล้วต้องใช้เรือวิ่งเท่านั้นเพื่อความปลอดภัยทั้งรถและประชาชน ส่วนอีกสายก็คือสายลพบุรี-สิงห์บุรีที่ขณะนี้ห้ามรถเล็กทุกชนิดวิ่งแล้วยกเว้นรถ 6 ล้อเท่านั้นเนื่องจากเมื่อวานมีลมแรง ทำให้พัดรถกระบะตกลอยไปกับน้ำจำนวนหลายคันจึงปิดการใช้ถนนของรถเล็กแล้ว  ซึ่งทางผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรียังได้ขอร้องชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วมสูงในอำเภอบ้านหมี่ทั้งในตำบลบางพึ่งและตำบลมหาสอนขอให้อพยพออกมาอยู่ที่ศูนย์อพยพไม่ต้องห่วงทรัพย์สินในขณะนี้ขอให้เอาชีวิตรอดก่อนเนื่องจากปริมาณน้ำยังคงเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่องหากโดยขอให้แจ้งมายังเจ้าหน้าที่ทางจังหวัดจะนำเรือเข้าไปช่วยอพยพออกมา โดยขณะนี้ได้จัดพื้นที่ไว้ให้แล้ว ที่โรงพยาบาลบ้านหมี่ ที่ว่าการอำเภอบ้านหมี่และสนามกีฬาอำเภอบ้านหมี่ไว้รองรับชาวบ้านอย่างสะดวกสบายกว่าอยู่ที่บ้านอย่างแน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น