nursekingnarai hospital lopburi

14 ส.ค. 2554

ความรู้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

คำศัพท์ควรรู้ การแบ็คอัพและรีสโตร์ข้อมูล
Relational Database Management System : RDBM 3    - ระบบจัดการฐานข้อมูล

Back Up      - การสำรองข้อมูล
System Recovery หรือ Automatic Recovery - การที่ SQL Server พยายามกู้ข้อมูลในระบบกลับคืนใกล้สู่สภาพเดิมมากที่สุดก่อนที่ระบบจะมีปัญหา โดยจะทำงานควบคู่กับ Transaction Log และ Check Point เพื่อรองรับทรานแซคชั่นหลายๆ แบบที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
Check Point  - เวลาที่ระบบจัดการฐานข้อมูลจะนำทรานแซคชั่นที่เสร็จเรียบร้อยแล้วบันทึกลงดาต้าเบส
Roll Forward -ส่งเข้าไปทำงานใหม่
Database – Complete หรือ Full Backup -การแบ็คอัพข้อมูลทั้งหมดของดาต้าเบส และบางส่วนใน-Transaction Log ที่เกิดขึ้นขณะทำการแบ็คอัพ
Database – Differention -การแบ็คอัพเฉพาะส่วนที่เป็นข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงหลังจากการทำ Full Backup ครั้งล่าสุดเท่านั้น
Transaction Log- การแบ็คอัพเฉพาะส่วนที่เป็น Transaction Log การแบ็คอัพแบบนี้จะใช้เมื่อต้องการแบ็คอัพข้อมูลจนถึงปัจจุบัน
File and Filegroup -ประกอบไปด้วยไฟล์และไฟล์กรุ๊ปต่างๆ สามารถเลือกที่จะแบ็คอัพแยกแต่ล่ะไฟล์หรือไฟล์กรุ๊ปได้โดยไม่ต้องแบ็คอัพทั้งดาต้าเบส
Physical Name      -ชื่อที่ระบบปฏิบัติการกำหนดมาให้
Logical Name       -ชื่อที่ผู้ใช้กำหนดขึ้นมาใหม่เพื่อให้เรียกใช้ได้ง่าย
Append to Media  -ให้บันทึกต่อท้ายข้อมูลเดิมในแบ็คอัพดีไวซ์
Overwrite Existing Media -การบันทึกทับข้อมูลเดิมในแบ็คอัพดีไวซ์
Schedule -ตั้งเวลาการแบ็คอัพเพื่อให้ทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อถึงเวลานั้น
Start automatically when SQL Server Agent Starts-ห้แบ็คอัพเมื่อเซอร์วิสของ SQLServer Agent สตาร์ท
One Time  -ให้แบ็คอัพตามวันที่กำหนด (On Date) และเวลาที่กำหนด (On Time)
Start Whenever the CPU(s) Become Idle  -ให้แบ็คอัพเมื่อ CPU อยู่ในสถานะ Idle (หยุดพัก)
Recurring  -ให้แบ็คอัพซ้ำๆ กันได้ โดยกำหนดให้ทำทุกวัน หรือทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน
Verify Backup Upon Completion-ให้ระบบตรวจสอบผลการแบ็คอัพอีกครั้งหลังจากแบ็คอัพเสร็จแล้ว
Eject Tape After Backup  ให้ดันม้วนเทปออกจากเทปไดร์ฟหลังจากแบ็คอัพเสร็จ
Remove Inactive Entries From Transaction Log   ใช้เฉพาะกับการแบ็คอัพ Transaction Log ให้ลบ (Truncate) รายการใน Transaction Log ที่คอมมิทแล้วหลังจากที่แบ็คอัพเสร็จ
Check Media Set Name and Backup Set Expiration ให้ตรวจสอบชื่อของดีไวซ์และวันหมดอายุของดีไวซ์ก่อนที่จะบันทึก จะช่วยป้องกันความผิดพลาดในการหยิบแบ็คอัพดีไวซ์ที่ผิดมาใช้ ที่ช่อง Media Set Name ให้ระบุชื่อของดีไวซ์
Backup Set Will Expire  ระบุจำนวนวันหรือวันที่ที่จะให้ดีไวซ์นั้นหมดอายุและพร้อมที่จะให้บันทึกทับดีไวซ์นั้นได้ มี 2 แบบ คือ After ให้บันทึกทับดีไวซ์นั้นเมื่อครบจำนวนวันที่กำหนด หลังจากแบ็คอัพเสร็จส่วน On คือ ให้บันทึกทับดีไวซ์นั้นหลังจากวันที่กำหนด
Initialize and Label Media ให้บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับเทปที่ส่วนต้นของเทป และลบข้อมูลเดิมที่มีอยู่รวมทั้งรายละเอียดเดิมออกไป
Media Set Name             ระบุชื่อของดีไวซ์ที่ส่วนตัวของดีไวซ
Media Set Description    ระบุส่วนที่เป็นคำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับดีไวซ์
Automatic Recovery       เป็นการกู้ข้อมูล SQL Server จะทำเอง หลังจากที่ SQL Server หยุดการทำงานกลางคันจากเหตุไฟดับ
Manual Recovery            การกู้ดาต้าเบสโดยผู้ใช้เอง
Suspect                            อาการนี้เกิดจากไฟล์ของดาต้าเบสที่อยู่ในดิสก์เสีย
Show Backups of Database ให้เลือกชื่อดาต้าเบสที่ต้องการ เพื่อแสดงรายละเอียดที่เคยแบ็คอัพไว้และควรเลือกให้ตรงกับชื่อดาต้าเบสที่ต้องการรีสโตร์
First Backup to Restore        แสดงวันเวลาครั้งล่าสุดที่ได้แบ็คอัพไว้
Point In Time Restore          สำหรับระบุวันเวลาที่ต้องการให้รีสโตร์ถึงจุดนั้น
Backup Set Date                   วันเวลาที่แบ็คอัพ
Backup Set Name                 ชื่อชุดที่แบ็คอัพ
Only the Backup Sets of the As Data Files On Drive ให้แสดงเฉพาะรายการแบ็คอัพที่อยู่ในไดร์ฟที่ระบุ
Only the Backup Set Completed After Date,Time  ให้แสดงเฉพาะรายการแบ็คอัพที่เกิดหลังจากวันเวลาที่ระบุ
Prompt Before Restoring Each Backup    กำหนดให้มีการถามก่อนที่จะรีสโตร์รายการถัดไป ใช้เมื่อมีการรีสโตร์หลายๆ รายการ เพื่อจะสามารถหยุดการทำงานได้ถ้าพบข้อผิดพลาด
Force Restore Over Existing Database   ถ้ามีดาต้าเบสอยู่แล้ว ให้รีสโตร์ข้อมูลทับลงไปที่ดาต้าเบสนั้นเลย แต่ถ้าไม่เลือกเช็คบ็อกซ์นี้และมีดาต้าเบสนั้นอยู่แล้ว จะไม่สามารถรีสโตร์ได้
Move to Physical File Name   ชื่อและตำแหน่งของไฟล์ ซึ่งสามารถเปลี่ยนพาธที่ต้องการเก็บไฟล์บนดิสก์ได้
Leave Database Operational. No Additional  กำหนดออปชั่นนี้เมื่อการรีสโตร์ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย และไม่มี
Transaction Logs Can Be Restored. การรีสโตร์ Transaction Log อีก เมื่อรีสโตร์เสร็จดาต้าเบสจะเปิดใช้งานได้ทันที
 Leave Database Nonoperational, But Able to   หลังจากรีสโตร์เสร็จแล้ว ดาต้าเบสยังใช้งานไม่ได้ มักใช้ในกรณีที่ Restore Additional Transaction Logs การรีสโตร์ยังไม่เสร็จสิ้น คือ ยังมีแบ็คอัพอื่นๆ ที่ต้องรีสโตร์ต่อจากการรีสโตร์ครั้งนี้อีก ซึ่งอาจรีสโตร์ Differential Backup หรือ Transaction Log ต่อจากนี้อีกก็ได้
Leave Database Read – Only and Able to  หลังจากรีสโตร์แล้วจะเปิดใช้ดาต้าเบสได้โดยสามารถอ่านRestore Additional Transaction Logs.     ข้อมูลได้ เพียงอย่างเดียว พร้อมทั้งสามารถจะรีสโตร์ Differential Backup หรือ Transaction Log ต่อจากนี้อีกได้
 Undo File    ให้ใส่ชื่อและพาธของไฟล์ที่เก็บข้อมูลของการรสโตร์ครั้งที่ผ่านมาไว้ (undo_file_name) เพื่อใช้กู้ข้อมูลให้กลับสู่สภาพเดิมก่อนการรีสโตร์ ถ้าการรีสโตร์นั้นมีความผิดพลาดเกิดขึ้น

โรคเอ็นอักเสบ (Tendinitis)

 โรคเอ็นอักเสบ (Tendinitis)

โรคเอ็นอักเสบ (Tendinitis) เป็นโรคที่พบได้บ่อย ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดบริเวณตำแหน่งของเส้นเอ็นที่เกิดการอักเสบขึ้น มักเป็นที่บริเวณหัวไหล่ ข้อศอก ข้อเข่า แต่ก็อาจเกิดขึ้นที่บริเวณข้อสะโพก ข้อเท้า และข้อมือ ได้เช่นกัน
โรคเอ็นอักเสบที่รู้จักกันดีมีชื่อเรียกเฉพาะ ได้แก่ tennis elbow, golfer's elbow, pitcher's shoulder, swimmer's shoulder และ jumper's knee
สาเหตุของโรค

1.     สาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดโรคเอ็นอักเสบ คือภยันตรายต่อเส้นเอ็น การกระทบกระแทก หรือการใช้งานบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นจากการทำงาน จากการเล่นกีฬา หรือจากอุบัติเหตุ
2.     อาจพบว่าเกิดขึ้นในโรคข้ออักเสบทั่วร่างกาย เช่น ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
3.     นักว่ายน้ำ นักเทนนิส นักกอล์ฟ มีโอกาสเกิดโรคเอ็นอักเสบบริเวณหัวไหล่ แขน ข้อศอก มากกว่าปกติ ในขณะที่นักฟุตบอล นักบาสเก็ตบอล นักวิ่ง จะเกิดโรคเอ็นอักเสบบริเวณขา เข่า และเท้า
4.     ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดโรคเอ็นอักเสบมากขึ้น
อาการของโรค
ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดบริเวณเส้นเอ็นที่เกิดการอักเสบ ความรุนแรงแตกต่างกันไป อาจปวดเพียงเล็กน้อย หรือปวดมากจนทนไม่ได้ ในรายที่อาการรุนแรง เส้นเอ็นที่อักเสบเกิดฉีกขาด จะมีอาการที่รุนแรงมากที่สุด
โรค Tennis elbow
จะปวดบริเวณข้อศอกเวลาขยับหมุนข้อศอก หรือเวลากำสิ่งของในมือ โรคAchilles tendinitis จะปวดบริเวณเอ็นร้อยหวาย โรค Patellar tendinitis จะปวดบริเวณสะบ้า ในขณะที่ Rotator cuff tendinitis จะปวดปริเวณหัวไหล่
การวินิจฉัยโรค.. .
จากประวัติอาการ ตำแหน่งที่เกิดการอักเสบ และตรวจร่างกายระบบกระดูกและข้อโดยละเอียด การตรวจภาพรังสีมักจะไม่ช่วยในการวินิจฉัยโรคแต่อย่างใด แต่อาจช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการได้ในบางกรณี หากสงสัยว่าเกิดจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ แพทย์อาจพิจารณาตรวจเลือดเพิ่มเติม
แนวทางการรักษาโรค
หลักสำคัญคือ ระงับอาการปวด และลดการอักเสบที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยต้องพักผ่อนให้เต็มที่ งดใช้งานข้อบริเวณที่เส้นเอ็นอักเสบ ควรประคบด้วยความเย็นเป็นครั้งคราว การใช้ยาแก้ปวดช่วยบรรเทาอาการได้ตามสมควร การใช้ยาลดการอักเสบช่วยให้อาการดีขึ้น
1.     ในรายที่เป็นมาก แพทย์อาจพิจารณาฉีดยา Corticosteroid เข้าไปรอบๆ บริเวณเส้นเอ็นที่เกิดการอักเสบ ช่วยลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวดได้มาก แต่ทั้งนี้ไม่ควรฉีดบ่อย จะทำให้เส้นเอ็นไม่แข็งแรงและอาจฉีกขาดได้
2.     กายภาพบำบัด และการออกกำลังกาย เพื่อเสริมกำลังของกล้ามเนื้อ ช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นแข็งแรงขึ้น
3.     การผ่าตัด ในกรณีที่เส้นเอ็นเกิดการฉีกขาด เทคนิดการซ่อมเส้นเอ็นทำได้หลายแบบ รวมทั้งการผ่าตัดเพื่อเสริมความแข็งแรงของเส้นเอ็นอีกด้วย
ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพฯ