nursekingnarai hospital lopburi

17 มิ.ย. 2554

KINGNARAI HOSPTAL PROFILE

ข้อมูลพื้นฐาน

1.1 ข้อมูลโรงพยาบาล


ชื่อโรงพยาบาล: พระนารายณ์มหาราช

ที่อยู่สำหรับติดต่อทางไปรษณีย์: 260 ถนนพหลโยธิน ต. เขาสามยอด อ.เมือง จ.ลพบุรี 15000

โทรศัพท์ 036-621537-45 โทรสาร 036-412018

1.2 เจ้าของ/ต้นสังกัด

โรงพยาบาลรัฐบาล

ต้นสังกัดในส่วนกลาง (กรม/กระทรวง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข

ต้นสังกัดในพื้นที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี

1.3 ลักษณะบริการ

จำนวนเตียงผู้ป่วยในที่เปิดให้บริการ 428 เตียง ระดับของการให้บริการ: 2.3 (ทุติยภูมิระดับสูง) และตติยภูมิระดับต้น 3.1 และหน่วยบริการร่วมด้านมะเร็งในเขต 2

ลักษณะของผู้ป่วยที่ให้การดูแล

 ผู้ป่วยทั่วไป

ผู้ป่วยเฉพาะทาง

ผู้ป่วยจิตเวช

ผู้ป่วยฟื้นฟูสภาพ

สถิติจำนวนเตียง


                       หอผู้ป่วย                          จำนวนเตียง
  • อายุรกรรม                        สามัญ  129      พิเศษ   22
  • กุมารเวชกรรม                  สามัญ  35        พิเศษ  22
  • สูติ-นรีเวชกรรม                สามัญ   50       พิเศษ  12
  • ศัลยกรรม                         สามัญ   72         พิเศษ 12
  • ออร์โธปิดิกส์                    สามัญ   36         พิเศษ 12
  • ตา หู คอ จมูก                  สามัญ   24          พิเศษ 12
            รวมทั้งหมด   428  เตียง สามัญ   346        พิเศษ  82     
 
 ก. สภาพแวดล้อมขององค์กร
1. ขอบเขตของการให้บริการ

โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราชให้บริการรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและฟื้นฟูสภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ แก่ประชานในเขตจังหวัดลพบุรีและจังหวัดใกล้เคียง โดยให้บริการทั้ง 3 ระดับ ได้แก่บริการระดับปฐมภูมิ บริการระดับทุติยภูมิ และบริการระดับตติยภูมิดังนี้

1.1 ระดับการให้บริการ

1.1.1 ให้บริการระดับปฐมภูมิในเขตอำเภอเมืองจังหวัดลพบุรี (Primary Medical Care) ได้แก่

1) การให้บริการรักษาพยาบาลโรคพื้นฐาน โรคที่พบบ่อยในท้องถิ่น โรคเรื้อรังที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน โดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและพยาบาลเวชปฏิบัติสถานที่ให้บริการ คือ ที่ CMU , รพสต. และ PCU

2) ให้บริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคทั้ง 3 ระดับ ในกลุ่มประชาชนทั่วไปรวมทั้งข้าราชการ,

กลุ่มผู้ป่วยและญาติ, กลุ่มเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลดังนี้

- บริการ Primary prevention เช่นสำรวจพฤติกรรมเสี่ยง จัดตั้งชมรมออกกำลังกาย ปรับเปลี่ยน

พฤติกรรมในกลุ่มปกติ เพื่อส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรงและลดปัจจัยเสี่ยงได้แก่ ประชาชนตามกลุ่มอายุ (เด็กใน

ศูนย์เด็กเล็ก , เด็กในโรงเรียน ,กลุ่มวัยทำงาน,กลุ่มวัยทอง,กลุ่มวัยสูงอายุ) ,และข้าราชการในเขตอำเภอเมืองที่มา

ตรวจสุขภาพกับโรงพยาบาลปีละประมาณ 3,204 คน

- บริการsecondary prevention ในกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยง(pre-DM, pre-HT,ไขมันสูง,อ้วน)

โดยจัดให้มีการคัดกรอง DM ,HT,CA cervix ,CA breast, Acute Coronary Syndrome เพื่อลดภาวะเสี่ยงป้องกัน

การเกิดโรคและ early diagnosis อัตราการคัดกรองครอบคลุม 60% ของกลุ่มเป้าหมายและพบอัตราป่วย

DM= 3.41% , HT = 6.51%

- บริการ tertiary prevention ในกลุ่มป่วยเช่นกลุ่มผู้ป่วยโรคที่สำคัญของ PCT ทั้งในรพ.และในชุมชน

3) ให้บริการฟื้นฟูสภาพทั้งร่างกายและจิตใจแก่ประชาน ผู้ป่วยและญาติ

1.1.2 ให้บริการระดับทุติยภูมิระดับสูง ( Secondary Medical Care)

ให้บริการระดับทุติยภูมิ ในเขตพื้นที่จังหวัดลพบุรี จำนวน 11 อำเภอ (ประชากร 768,516 คน) และจังหวัดใกล้เคียงใน เขต 2 (4 จังหวัด ) ได้แก่ ลพบุรี , อ่างทอง , สิงห์บุรี , ชัยนาท ทั้งผู้ป่วยมาเองและรับส่งต่อโดยให้บริการใน 4 สาขาหลัก(อายุรกรรม, ศัลยกรรม, สูตินรีเวช กรรม, กุมารเวชกรรม) และ 8 สาขารอง (ศัลยกรรมกระดูก, จักษุ, โสต ศอ นาสิก, โรคผิวหนัง, ศัลยกรรมประสาท, ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ,วิสัญญี, รังสีวินิจฉัย )

1.1.3 ให้บริการระดับตติยภูมิ (Tertiary Medical Care)

ให้บริการระดับตติยภูมิในเขตพื้นที่ 4 จังหวัดของเขต 2 โดยให้บริการใน 10 สาขาหลัก (อายุรกรรม, ศัลยกรรมทั่วไป, สูตินรีเวชกรรม, กุมารเวชกรรม, ศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์), 8 สาขารอง (ศัลยกรรมทางปัสสาวะ, จักษุวิทยา, โสต ศอ นาสิก, ศัลยกรรมประสาท, โรคผิวหนัง, เวชศาสตร์ฉุกเฉิน, รังสีวินิจฉัย, เวชศาสตร์ครอบครัว, จิตเวช, วิสัญญี และ 2 สาขา ต่อยอด คือ โรคไต (Nephrologists 1 คน) , ศัลยกรรมตกแต่ง (Plastic surgeon1 คน) เพื่อเป็นที่สุดท้ายในการส่งต่อในกลุ่มโรคที่ซับซ้อน

        1.1.4 ให้บริการดูแลโรคมะเร็งโดยเป็น Co- Center กับศูนย์มะเร็งลพบุรี โดยให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม การตรวจวินิจฉัยมะเร็งทุกชนิด การผ่าตัดรักษา (ในบางราย) และส่งต่อเพื่อรักษาต่อที่ศูนย์มะเร็ง รวมทั้งดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้าย


1. 2. ความเชี่ยวชาญพิเศษขององค์กร

โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราชเป็นโรงพยาบาลที่ให้บริการทุติยภูมิระดับสูง (ระดับ 2.3) ดังนั้นความเชี่ยวชาญพิเศษ คือ การให้บริการผู้ป่วยในโรคที่ยุ่งยากซับซ้อน หรือต้องหา Intensive care เช่น โรคที่มีภาวะแทรกซ้อน หรือมี Underlying (ร้อยละผู้ป่วยที่ซับซ้อน = 11 ของผู้ป่วยทั้งหมดในปี 2552) ซึ่งค่าเฉลี่ยของประเทศ และจากจำนวนแพทย์เฉพาะทาง รวมทั้งศักยภาพบริการในสาขาหลัก สาขารองและสาขาต่อยอดที่มี พบว่าโรงพยาบาลมีความพร้อมในการพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านได้ในอนาคต เช่น ด้านศัลยกรรมกระดูก (การผ่าข้อเข่าและข้อสะโพก) โรคไต โรคระบบทางเดินปัสสาวะ โรคทางศัลยกรรมตกแต่ง ซึ่งโรงพยาบาลได้มีแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาบริการเด่นเฉพาะด้านเพื่อพัฒนาศักยภาพสู่ความเชี่ยวชาญยิ่งขึ้น

1.3 บริการ / กลุ่มผู้ป่วยสำคัญที่ต้องส่งต่อหรือจัดบริการโดยประสานความร่วมมือ

1.3.1. กลุ่มผู้ป่วยศัลยกรรมประสาท รพ.ได้ประสานความร่วมมือกับรพ.อานันทมหิดล ให้อนุญาตแพทย์ศัลยกรรมประสาท จำนวน 2 คน เพื่อมาดูแลผู้ป่วยและผ่าตัด ที่รพ.พระนารายณ์มหาราช โดยจัดเป็นตารางเวรประจำเดือนและมีคลินิกศัลยกรรมประสาททุกบ่ายวันเสาร์

1.3.2. กลุ่มผู้ป่วยมะเร็ง ที่ต้องประสานบริการในการส่งต่อไปรับการรักษาที่ศูนย์มะเร็งลพบุรีและประสานทรัพยากรในการให้บริการเช่นขอใช้สถานที่การเตรียมยาเคมีบำบัดที่ศูนย์มะเร็ง

1.3.3. กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องประสานบริการในการรับส่งต่อ รพท.ในเขต 2 ได้แก่

1) กลุ่มโรคทางด้านศัลยกรรมระบบประสาทที่ต้องทำการผ่าตัด (ICH, SAH)

2) กลุ่มโรคทางด้านศัลยกรรมตกแต่ง (Fx. Mandible, Maxillary)

3) กลุ่มโรคทางด้านศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ

4) กลุ่มโรคด้านอายุรกรรมที่ต้องการพบแพทย์เฉพาะทางโรคไต

1.3.4. กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องประสานบริการในการรับส่งต่อกับรพช.และได้จัดให้มีแนวทางการส่งต่อระหว่างรพ.พระนารายณ์มหาราชและ รพช. ได้แก่ Head injury, Appendicitis, MI , UGIB , Septic Shock และ Pneumonia เป็นต้น

1.3.5. กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องประสานบริการในการรับส่งต่อกับรพ.สต.และPCU ได้แก่ ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, อุบัติเหตุ/สัตว์กัด เป็นต้น

1.3.6. การประสานความร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่น (อบต.และเทศบาล) เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ (P&P community) ในการควบคุมป้องกันโรคที่พบบ่อย และโรคติดต่อในท้องถิ่นได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอุบัติเหตุ โรคไข้เลือดออก โรคไข้หวัดนก/ไข้หวัดใหญ่

 1.3.7. กลุ่มอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน (EMS) ได้ประสานกับ รพช.ในจังหวัด มูลนิธิร่วมกตัญญูและมูลนิธิอื่น ๆในพื้นที่เพื่อพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยในกรณี โดยเป็นศูนย์สั่งการกรณีเกิดอุบัติเหตุหมู่โรงพยาบาลได้จัดรถ EMS ตลอด 24 ชั่วโมง


2. ประชากรในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ

2.1 พื้นที่รับผิดชอบให้บริการระดับปฐมภูมิ คือ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ซึ่งมีประชากรประมาณ255,872 คน ซึ่งวิถีชีวิตเป็นแบบกึ่งเมืองมีปัญหาสุขภาพในพื้นที่ได้แก่ โรคเรื้อรัง( DM,HT,CVA,CA ), โรคติดต่อ(DHF, TB, HIV, Influenza),โรคฉุกเฉิน (Ac.MI, Truama, COPD), พฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ เหมาะสม

จากการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงในประชาชนอายุ > 35 ปีในเขตอำเภอเมือง จำนวน 60,121 คน พบว่ากินอาหารไม่เหมาะสม

= 33.18 %, ออกกำลังกายไม่เหมาะสม = 40.29%, พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดสมอง =7.29% , Pre-DM = 16.29%, Pre-HT = 15.47%, น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน=7.96%, ไม่ใส่หมวกนิรภัย = 1.68%, ดื่มเหล้า = 51.99, สูบบุหรี่= 7.69%

2.2 พื้นที่รับผิดชอบให้บริการระดับทุติยภูมิระดับสูง ดูแลประชาชนในจังหวัดลพบุรี จำนวน 11 อำเภอ ประชากรทั้งสิ้นจำนวน 768,516 คน เป็นชาย 388,784 คน และ เป็นหญิง 379,732 คน และรวมถึงประชากรในจังหวัดใกล้เคียง โรคที่ส่งต่อจาก รพช.บ่อย ได้แก่ Head injury , Appendicitis , MI , Septic Shock ,UGIB เป็นต้น

2.3 พื้นที่รับผิดชอบให้บริการระดับตติยภูมิ ดูแลประชากรในจังหวัดใกล้เคียง ในเขต 2 ได้แก่ ลพบุรี, สิงห์บุรี,อ่างทอง,ชัยนาท ประชากรประมาณ ..1,590,135...คน โรคที่ส่งต่อจากรพ.ใกล้เคียงบ่อยได้แก่

2.3.1 กลุ่มโรคทางด้านศัลยกรรมระบบประสาทที่ต้องทำการผ่าตัด (ICH, SAH)

2.3.2 กลุ่มโรคทางด้านศัลยกรรมตกแต่ง (Fx. Mandible , Maxillary)

2.3.3 กลุ่มโรคทางด้านศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ

2.3.4 กลุ่มโรคด้านอายุรกรรมที่ต้องการพบแพทย์เฉพาะทางโรคไต

2.4 ชุมชนที่รับผิดชอบของรพ.คือ ม,1,2,3,4 ต.ท่าศาลา ประชากร ประมาณ....7,413...คน

2.5 ชุมชนหรือกลุ่มผู้รับบริการที่เป็นเป้าหมาย (Targeted Customers)

จากการวิเคราะห์องค์กร แนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โรงพยาบาลได้เรียนรู้ว่ากลุ่มประชากรที่เป็นเป้าหมายต่อความสำเร็จ มีดังนี้

2.5.1 กลุ่มที่มีความสำคัญและได้นำมากำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเพื่อตอบสนอง

ความต้องการในเชิงนโยบาย และการบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กรได้แก่

1) กลุ่มข้าราชการ เนื่องจากรายรับส่วนใหญ่ของรพ.มาจากการเบิกจ่ายตรงและเบิกต้นสังกัด

2) กลุ่มประกันสังคมเนื่องจากกลุ่มนี้ให้เลือกรพ.หลักและเครือข่ายได้ตามสมัครใจ

กลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม ข้างบนเป็นตัวชี้วัดในเรื่องความเชื่อถือ ศรัทธาและภาพลักษณ์ของ รพ.

2.5.2 กลุ่มที่มีความสำคัญในการพัฒนาระบบบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการ และป้องกันความเสี่ยง ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และกลุ่มโรคเสี่ยงสูง
2.5.3 กลุ่มที่มีความสำคัญในการพัฒนาระบบบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดีขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อน ลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวและรพ.ได้แก่ 1) กลุ่มโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ/สมอง และโรคมะเร็ง 2)โรคที่มีภาวะเสี่ยง เช่น กลุ่ม pre-DM, pre-HT, BMI เกิน 3) กลุ่มปกติที่มีพฤติกรรมเสี่ยง


3. ลักษณะโดยรวมของบุคลากร จำนวนบุคลากรทั้งหมด จำแนกตามระดับการบริหาร และลักษณะงาน

3.1 จำแนกตามระดับการบริหาร

3.1.1 ทีมผู้บริหารระดับสูง ประกอบด้วยผู้อำนวยการ 1 คน และรองผู้อำนวยการด้านต่าง ๆ อีก 10 คนได้แก่ 1. นายแพทย์กรณาธิป สุพพัตเวช ตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์

2. นายแพทย์สมชาย โอวัฒนาพานิช ตำแหน่งรองผู้อำนวยการด้านบริการปฐมภูมิและเครือข่าย

3. นายแพทย์อภิชาติ ล้อไพบูลย์ทรัพย์ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการด้านพัฒนาระบบ

4. นายแพทย์พงษ์ เจริญจิตไพศาล ตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมพิเศษฯ

5. แพทย์หญิงณัฐภร ประกอบ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการด้านพัฒนาระบบคุณภาพ

6. นายแพทย์จุมพล ตันวิไล ตำแหน่งรองผู้อำนวยการด้านบริหารจัดการทรัพยากรการแพทย์

7. นายมงคล เฟื่องมงคลวิทยา ตำแหน่งรองผู้อำนวยการด้านบริหารงานทั่วไป

8. นายแพทย์สุชาติ เอื้อพันธุ์พงศ์ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการด้านสารสนเทศและสันทนาการ

9. แพทย์หญิงหทัยรัตน์ อัจจิมานนท์ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการด้านพัฒนาบุคลากร

10. นางวลีรัตน์ สุธนนันท์ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการด้านการพยาบาล

3.1.2. ทีมผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ หัวหน้ากลุ่มงานและหัวหน้าฝ่าย จำนวน 25 คน

3.1.3 ทีมผู้บริหารระดับต้น หัวหน้างาน/หัวหน้าหอผู้ป่วย จำนวน 70 คน

3.2 จำนวนบุคลากรจำแนกตามสาขาวิชาชีพที่สำคัญ


ปฏิบัติงานจริง/ลาศึกษาต่อ           ร้อยละตาม GIS

แพทย์                48                                 85.71

ทันตแพทย์          8                                 24.24

เภสัชกร             17                                51.51

พยาบาลวิชาชีพ 372                            83.59

พยาบาลเทคนิค / เจ้าหน้าที่พยาบาล 30 -

เจ้าหน้าที่อื่น ๆ   96 -

ลูกจ้างประจำ    174 -

ลูกจ้างชั่วคราว  384 -

                        รวม       1,076                100

2.4. อาคารสถานที่ เทคโนโลยี และอุปกรณ์


1 สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญ

โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราชมีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ (ซึ่งมีประมาณ 37 ไร่) แต่อย่างไรก็ตามทางโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ได้พยายามจัดสถานที่เพื่ออำนวยความสะดวกดังนี้

1.1 สถานที่ให้บริการ

1) ห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอก

- โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช มีห้องตรวจโรคทั่วไป2 ห้อง, ห้องตรวจผู้ป่วยประกันสังคม 1 ห้อง เพื่อให้บริการผู้ป่วย Walk in ที่ไม่มีบัตรนัด, ข้าราชการของโรงพยาบาล และผู้มีพระคุณของโรงพยาบาล รวมทั้ง VIP อื่น

- ห้องตรวจโรคเฉพาะทาง 16 ห้อง เพื่อให้บริการผู้ป่วยเฉพาะสาขาตามระบบนัด และรับปรึกษาจากห้องตรวจอื่น ๆ รวมทั้งผู้ป่วยส่งต่อ

- ห้องฉีดยาผู้ป่วยนอก 1 ห้อง, ห้องตรวจภายใน 2 ห้อง

2) ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินมีเตียงปฐมพยาบาล 10 เตียงและเตียงสังเกตอาการ 8 เตียง

3) ห้องผ่าตัดมี 6 ห้อง

4) หอผู้ป่วย 37 หอ

5) ห้องแยกโรคติดเชื้อ 2 ห้อง (negative pressure)

6) ยูนิตทำฟันของแผนกทันตกรรมจำนวน 10 ยูนิต

1.2 สถานที่อำนวยความสะดวก

1) ร้านอาหารและร้านค้าฟ้าประดับ


2) ลานออกกำลังกาย พร้อมอุปกรณ์ สำหรับเจ้าหน้าที่และประชาชนทั่วไป (หน้าตึกคลอด)


3) ห้องน้ำผู้พิการ, ห้องน้ำผู้ป่วย/ญาติ, ศาลาพักญาติ

4) จัดรถรับส่งผู้ป่วยระหว่างรพ.สาขาและโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

5) ลานจอดรถ (ซื้อที่ดินเพิ่มเติมด้านหลังโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช)

2 เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่สำคัญ

2.1 ใช้เทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาระบบบริการเพื่อลด error ที่เป็น Human Factor โดยใช้โปรแกรมHos.xp บันทึกข้อมูลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน, ใช้โปรแกรม LIH , NAP ของ สปสช., ART ของสำนักงานประกันสังคม และ NAPHA Extension ของ สคร.(ห้องชันสูตร คลินิก TB HIV )

2.2 อุปกรณ์เพื่อพัฒนาการดูแลผู้ป่วยและลดความเสี่ยงจากการให้บริการได้แก่

1) การจัดหาเครื่อง CT มาใช้ในโรงพยาบาลซึ่งลงทุนโดยเอกชน

2) เครื่องสลายนิ่วเคลื่อนที่ จากรพ.เอกชน

3) เครื่อง Gastro scope end scope พร้อมเครื่องล้าง

4) เครื่อง Echocardiogram ใช้วินิจฉัยอวัยวะภายในหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ สถิติการใช้เฉลี่ยประมาณ 7 รายต่อเดือน บำรุงรักษาโดยช่างจากบริษัทตามระยะ

5) เครื่อง Hemodialysis จำนวน 8 เครื่อง ที่หน่วยไตเทียมมีการบำรุงรักษาเชิงป้องกันโดยบริษัทผู้จำหน่าย การใช้งานโดยเจ้าหน้าที่แผนกไตเทียมที่ผ่านการอบรมเรื่องการใช้เครื่อง การบำรุงรักษาเบื้องต้น

6) เครื่องหา Viral load (Real time PCR)

7) เครื่องตรวจวิเคราะห์ทางเคมีคลินิก และอิมมาโนวิทยา ซึ่งตรวจ จำนวนผู้ป่วย ได้มากขึ้น เร็วขึ้นโดยไม่ต้องเจาะเลือดผู้ป่วย 2 ครั้ง

8) เครื่องมือตรวจวัดความโค้งกระจกตา และตรวจวัดสายตา

9) เครื่อง Reverse Osmosis 1 เครื่อง เป็นเครื่องกรองน้ำบริสุทธิ์ใช้กับเครื่องฟอกไต มีการบำรุงรักษาโดยบริษัทผู้ชำนาญด้านนี้โดยเฉพาะ โดยควบคุมมาตรฐานของน้ำที่ผ่านกระบวนการให้อยู่ในมาตรฐาน

10) เครื่องช่วยหายใจ จำนวน 58 เครื่อง (Bird 38, แบบควบคุมปริมาณ 20) โดยเป็นเครื่องที่อยู่ประจำหอผู้ป่วยหนักจำนวน 40 เครื่อง ที่เหลือเป็นเครื่องช่วยหายใจสำหรับใช้กับหอผู้ป่วยจำนวน 18 เครื่อง โดยมีศูนย์เครื่องมือแพทย์ ดูแลด้านการบำรุงรักษาให้มีความเพียงพอ พร้อมใช้ กรณีมีไม่เพียงพอ ศูนย์เครื่องมือแพทย์ จะประสานงานเพื่อบริหารจัดการให้ใช้ได้อย่างเพียงพอภายในโรงพยาบาล รวมถึงจัดทีมดูแลเครื่องช่วยหายใจ(Respiratory care team) เพื่อลดปัญหาแทรกซ้อนจากการใช้เครื่อง โดยเฉพาะปัญหาการติดเชื้อปอดอักเสบในผู้ป่วย นอกจากนี้ศูนย์เครื่องมือแพทย์ยัง Infusion pump อีก 73 เครื่อง

11) เครื่อง Ultrasound ที่ห้องคลอดและที่กลุ่มงานรังสี อย่างละ 1 เครื่อง ใช้เพื่อตรวจหาความผิดปกติในช่องท้อง เช่น การวินิจฉัยภาวะตกเลือดในผู้ป่วยบาดเจ็บช่องท้อง แพทย์ผู้ใช้งานต้องผ่านการฝึกใช้เครื่องและอ่านผลเอง หรือสามารถพิมพ์ผลออกเพื่อขอคำปรึกษาจากแพทย์อาวุโส

          
เครื่องมือที่โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ต้องร่วมบริหารจัดการกับเอกชน คือ เครื่อง CT Scan โดยรังสีแพทย์ได้เข้าไปร่วมในการบริหารจัดการ เช่น ต้องมีแพทย์ฉีดสารทึบแสงเอง การเตรียมความพร้อมเรื่องดูแลผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน ระบบการรายงานผลให้กับ Word และ รพช. เป็นต้น