nursekingnarai hospital lopburi

27 ต.ค. 2554


วันที่27ต.ค. ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) แถลงถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ กล่าวว่า ได้เปิดประตูระบายน้ำอย่างเต็มที่และเดินระบบ 100% ส่วนพื้นที่ อ.ลำลูกกา ที่พยายามกั้นน้ำอยู่นั้น ไม่สามารถเข้าถึงได้ ทำให้น้ำนั้นไหลเข้ามายังถนนพหลโยธิน ขณะที่ถนนวิภาวดีรังสิตขาออก น้ำอยู่ที่แยกหลักสี่ ส่วนขาเข้าอยู่ที่ร้านเจ๊เล้ง ก่อนจะเร่งระบายออกผ่านคลองเปรมประชากร
ด้านนายวีระ วงศ์แสงนาค อดีตรองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า จะเร่งผลักดันมวลน้ำทั้งหมดที่มาจากจ.ปทุมธานี ไปทางด้านตะวันออกของกม. และยอมรับว่า ปัญหาที่ประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์คลอง 1 - 5 ยังมีปริมาณน้ำหลาก แต่ได้พยายามแก้ไขแล้ว ทั้งนี้ ได้ดันน้ำออกไปยังคลองหกวาตอนล่างด้วย เช่นเดียวกับนายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและ ภูมิศาสตร์สารสนเทศ กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในคลองรังสิตว่า ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีปัญหาในพื้นที่ดอนเมือง อีกทั้ง ยังมีสิ่งกีดขวางทางน้ำ รวมถึงปัญหาน้ำทะเลหนุนสูงอีกด้วยทำให้การระบายออกไปได้ช้า

19 ต.ค. 2554

ศูนย์สนับสนุนการอานวยการและการบริหารสถานการณ์ อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.)

1 ศูนย์สนับสนุนการอานวยการและการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ท่าอากาศยานดอนเมือง

โทร. 0 2504 3584 0 2504 3563 โทรสาร. 02 504 3584 E-Mail : dpm_eoc@yahoo.com

โทร. 0 2637 3580 - 5 โทรสาร 0 2241 7450 - 6 สายด่วนนิรภัย 1784 E-Mail : operation@nirapai.com www.disaster.go.th

วันที่ 19 ต.ค. 54 เวลา 09.00 น. ณ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ท่าอากาศยานดอนเมือง นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย/รอง ผอ.ศอส. เป็นประธานการประชุม ศอส. ร่วมกับผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงสรุปสาระสำคัญของการประชุม เพื่อให้หน่วยที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยต่อไป ดังนี้

1. สถานการณ์ปัจจุบัน

1.1 สถานการณ์ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 27 จังหวัด ได้แก่ จ.สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี อุบลราชธานี ขอนแก่น ศรีสะเกษ สุรินทร์ ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี ร้อยเอ็ด กาแพงเพชร ตาก มหาสารคาม และ จ.สมุทรสาคร 172 อาเภอ 1,372 ตาบล 10,196 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 806,027 ครัวเรือน 2,419,527คน และ มีผู้เสียชีวิต 317 ราย สูญหาย 3 คน (จ.แม่ฮ่องสอน 1 ราย จ.อุตรดิตถ์ 1 ราย จ.ขอนแก่น 1 ราย) (ข้อมูลจาก ปภ.)

1.2 ปริมาณน้ำฝนในรอบ 24 ชม. ฝนตกสูงสุดที่ อบต.ทุ่ง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ปริมาณน้ำฝน166.0 มม.

1.3 ความเสียหาย


1.3.1 ด้านการเกษตร พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย 10,301,830 ไร่ พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำคาดว่าจะเสียหาย บ่อปลา 158,741 บ่อ/กระชัง ด้านปศุสัตว์ สัตว์ได้รับผลกระทบรวมทั้งสิ้น 12,331,589 ตัว (ข้อมูลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)


1.3.2 การคมนาคม


ทางหลวง เส้นทางที่ไม่สามารถสัญจรได้ 75 สาย ใน 17 จังหวัด (สอบถามเพิ่มเติม ที่สายด่วน 1586)


ทางหลวงชนบท เส้นทางที่ไม่สามารถสัญจรได้ 196 สาย ใน 29 จังหวัด (สอบถามเพิ่มเติม ที่สายด่วน 1146)


การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟฯ ได้ประกาศงดเดินรถในเส้นทางสายเหนือ 18 ขบวน ส่วนขบวนรถสายตะวันออกเฉียงเหนือ การรถไฟฯ ได้เปลี่ยนเส้นทางให้ไปเดินในช่วงกรุงเทพ-มักกะสัน-ฉะเชิงเทรา เพื่อไปยังชุมทางแก่งคอยและไปยังปลายทางหนองคายและอุบลราชธานี ทั้งนี้ขบวนรถไฟสายอีสานจะไม่ผ่านสถานีสามเสน บางซื่อ หรือดอนเมือง ผู้โดยสารต้องเดินทางมาที่สถานีกรุงเทพ (หัวลาโพง) เท่านั้น (สอบถามเพิ่มเติม ที่สายด่วน 1690)


การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ปิดการจราจร จำนวน 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางด่วนขาออก เชียงราก-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต รถขนาดเล็กไม่สามารถผ่านขึ้น-ลงได้ เนื่องจากพื้นราบมีระดับน้ำท่วมขังประมาณ 30 ซม. และทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด ตั้งแต่ กม. 22- กม.29 น้าท่วมสูงประมาณ 70-80 ซม. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ประสานงานการปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยของ กทพ. EXAT Call Center โทร. 1543 ตลอด 24 ชม.


บริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.) เส้นทางสายเหนือใช้ทางเลี่ยง บางบัวทอง-สุพรรณบุรี-อ่างทอง และเส้นทางผ่าน จ.นครสวรรค์ เลี่ยงใช้เส้นทาง อ.ตากฟ้า และ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ (สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ที่สายด่วน 1490 เรียก บขส. ตลอด 24 ชม.)


บริษัทขนส่งมวลชน จำกัด ได้จัดรถ ขสมก. รับส่งผู้โดยสารที่ประสบอุทกภัยไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราวในพื้นที่ต่างๆ และรับส่งอาสาสมัคร จาก ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ไปยัง ดอนเมือง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์


1.4 การปฏิบัติการช่วยเหลือที่สำคัญ


ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบัญชาการกองทัพไทย จัดตั้ง ศบภ.บก.ทท.สน. เพื่อประสานงาน ศปภ. (ดอนเมือง)


1.4.1 ศบภ.นทพ. จัดกำลังพล 691 คน พร้อมยานพาหนะ 141 คัน เครื่องจักรกล 46 คัน เรือ 83 ลำ รถครัวสนาม 1 คัน รถประปาสนาม 1 คัน รถเสบียง 1 คัน ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา พิษณุโลก พิจิตร อุตรดิตถ์ อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง และ จ.ลพบุรี


ผลักดันน้าในคลองลาดกระบัง คลองบางโฉลง คลองจระเข้ใหญ่ คลองบางเสาธง และคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต อ.บางบ่อ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ และคลองลาปลาทิว เขตลาดกระบัง กทม. รวม 12 เครื่อง


จัดกำลังพล และยุทโธปกรณ์ พร้อม รยบ.สัมภาระ ขนย้ายเรือท้องแบนติดเครื่องยนต์ 4 ลา เรือท้องแบนลากจูง 2 ลา รับ-ส่ง ราษฎรในพื้นที่หมู่บ้านบางบัวทองเคหะเรือนไทย อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี บรรจุกระสอบทราย 300 ถุง และขนส่งพืชอาหารสัตว์ (หญ้ารูซี) จานวน 25 ตัน พร้อมทั้งได้ขุดลอกคลองลาดกระบัง คลองพระยาสุนทรสมุทร คลองพระยาอรรคราช และคลองกัญญา


1.4.2 ศบภ.ทบ. จัดกาลังพล 12,750 นาย รยบ. 1,060 คัน รถโกยตัก 18 คัน รถพ่วงชานต่า 12 คัน บองโก้ 2 คัน เรือทุ่น 3 ลา รถครัวสนาม 5 คัน รถน้า 20 คัน เรือตรวจการณ์พลังลม 2 ลา เรือยนต์บรรทุกขนาด 90 ฟุต (ผลักดันน้า) 10 ลา และเรือท้องแบน 2,450 ลา ชุดแพทย์เคลื่อนที่ 7 ชุด ชุดฟื้นฟูสภาพจิตใจ 8 ชุด อากาศยาน 4 ลา ในพื้นที่ 3 จังหวัด (จ.พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ศูนย์สนับสนุนการอานวยการและการบริหารสถานการณ์ อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.)


2 ศูนย์สนับสนุนการอานวยการและการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ท่าอากาศยานดอนเมือง


โทร. 0 2504 3584 0 2504 3563 โทรสาร. 02 504 3584 E-Mail : dpm_eoc@yahoo.com

โทร. 0 2637 3580 - 5 โทรสาร 0 2241 7450 - 6 สายด่วนนิรภัย 1784 E-Mail : operation@nirapai.com www.disaster.go.th และนนทบุรี) และขุดลอกคลองงิ้วราย อ.นครชัยศรี คลองทรงคะนอง และคลองท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม


1.4.3 ศบภ.ทร. จัดกำลังพล พร้อมเรือ และยุทโธปกรณ์ บูรณาการการปฏิบัติของหน่วยงานต่างๆ ในการผลักดันน้าในแม่น้าเจ้าพระยาที่ไหลจากตอนเหนือของประเทศออกสู่ทะเล และจัดเครื่องผลักดันน้า 3 ชุด วางกำลังผลักดันน้าบริเวณคลองลัดโพธิ์ (ด้านใต้) โดยปฏิบัติงานร่วมกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย


1.4.4 ศบภ.ทอ. จัดกำลังพล 486 นาย และยุทโธปกรณ์เข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ อบต.บ้านใหม่ อ.เมือง อ.บางบัวทอง จ.ปทุมธานี หมู่บ้านการ์เด็นโฮม กทม. อบต.รางจระเข้ อ.เสนา อ.มหาราช อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา ช่วยบรรจุสิ่งของบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ที่สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 รับ – ส่ง จนท. ผู้ป่วย และอุปกรณ์ทางการแพทย์ของ รพ.บางไทร อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ลาเลียงสิ่งของบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง กทม. รับ – ส่ง ประชาชนแทนรถประจาทางที่หมู่บ้านนภาวัลย์ เขตสายไหม กทม. สนับสนุนการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี บรรจุกระสอบทราย ทาพนังกั้นน้าในเขตพื้นที่ อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี บรรจุกระสอบทรายทาพนังกั้นน้าในเขตพื้นที่คลองหกล่าง จ.ปทุมธานี ลาเลียงเจ้าหน้าที่ ผู้ป่วย และอุปกรณ์ทางการแพทย์ รพ.สามโคก อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ลาเลียงถุงยังชีพ จำนวน 1,000 ถุง และอาหารพร้อมรับประทาน จานวน 1,000 ชุด ไปให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ร่วมกับ บ.เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด


1.4.5 กรมการปกครอง 1) ได้มอบหมายผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นนายอำเภอ ไปช่วยอำนวยการใน จ.พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี และ จ.ลพบุรี และ 2) รับเรื่องราวร้องทุกข์ 17 จว. ยอดสะสมวันที่ 9-18 ต.ค. 54 มี 3,254 เรื่อง แก้ไขแล้ว 2,826 เรื่อง


1.4.6 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้นาแพไม้ไผ่ จานวน 400 หลัง มามอบไว้ให้ ศปภ. ใช้งาน ในพื้นที่อุทกภัย


1.4.7 กระทรวงสาธารณสุข จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 6,550 ครั้ง ผู้รับบริการสะสม 668,684 ราย โรคที่พบ 5 อันดับแรก (น้ากัดเท้า ปวดกล้ามเนื้อ ไข้หวัด ผิวหนัง และปวดศีรษะ) และการประเมินสุขภาพจิต ได้ดาเนินการแล้ว 36 จังหวัด เยี่ยมครอบครัวผู้เสียชีวิต จำนวน 200 ครอบครัว มียอดรวม 93,234 พบว่ามีความเครียดสูง 3,857 ราย ภาวะซึมเศร้า 5,493 ราย มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 765 ราย และต้องดูแลพิเศษ 1,162 ราย (คงเดิม) สนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ 1,544,250 ชุด ยาตาราหลวง 104,500 ชุด ยารักษาน้ากัดเท้า 245,000 หลอด


1.4.8 สพฉ. ได้สนับสนุนการลาเลียงผู้ป่วยทางอากาศ โดยเฮลิคอปเตอร์ 41 ราย เครื่องบินฝนหลวง 57 ราย รถยนต์ (เฉพาะผู้ป่วยหนัก) 179 ราย เรือ 343 ราย รวมทั้งสิ้น 620 ราย พร้อมทั้งใช้ ฮ. กระทรวงทรัพยากรฯ บินประเมินสถานการณ์น้าท่วม 12 เที่ยว และใช้เครื่องบินฝนหลวง (CASA) ขนแพทย์/พยาบาล/อุปกรณ์การแพทย์/เวชภัณฑ์ และถุงยังชีพ 5 เที่ยว พร้อมทั้งใช้ ฮ. กระทรวงเกษตรฯ ลาเลียงยา และเวชภัณฑ์ 1 เที่ยว


1.4.9 กรมประชาสัมพันธ์ ได้จัดทีมข่าวประจาอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี, ตลาดไท, ประตูน้าจุฬาลงกรณ์ และทีมข่าวติดตามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตรวจดูแนวป้องกันน้า พื้นที่เสี่ยงภัย ติดตามสถานการณ์ที่พระนครศรีอยุธยา จัดทาข่าวแจกเกี่ยวกับสถานการณ์น้าท่วมให้กับสื่อมวลชนและหน่วยงานต่างๆ ภายใน ศปภ. และข่าวแจกภาษาอังกฤษ เข้าชมที่ http://thailand.prd.go.th


1.4.10 กรมทรัพยากรน้าบาดาล ดาเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชนโดยการแจกจ่ายน้าสะอาดในพื้นที่ประสบอุทกภัย (18 ต.ค. 54) จานวน 89,181 ลิตร รวมปริมาณน้าที่ได้แจกจ่ายไปแล้ว 3,946,746 ลิตร เปิดจุดแจกจ่ายน้าสะอาด จานวน 50 แห่ง ในพื้นที่ประสบอุทกภัย 13 จังหวัด และสนับสนุนรถบรรทุก 6 ล้อ 4 คัน ช่วยอพยพผู้ประสบภัย และขนย้ายสิ่งของในพื้นที่อาเภอบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา


1.4.11 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานผลการสารวจข้อมูลครัวเรือนที่จะได้รับการช่วยเหลือครัวเรือนละ 5,000 บาท ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 54 อนุมัติในหลักการในการดาเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (กรณีอุทกภัย) ครัวเรือนละ 5,000 บาท (เพิ่มเติม) ครั้งที่ 3 ใน 36 จังหวัด กรอบครัวเรือน จานวน 334,039 ครัวเรือน เป็นเงิน 1,670,195,000 บาท โดยกรม ปภ. ได้มีหนังสือแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด ดาเนินการตรวจสอบความถูกต้อง และส่งข้อมูลรายละเอียดจานวนครัวเรือน ที่ขอรับการช่วยเหลือมายังกรม ปภ. ภายในวันที่ 28 ต.ค. 54 ทั้งนี้ ปภ. ได้รวบรวมรายชื่อส่งธนาคารออมสินแล้ว 296,242 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 88.68 ทั้งนี้ธนาคารออมสินได้จ่ายเงินแล้ว116,532 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 39.34 ( ข้อมูลวันที่ 18 ต.ค. 54)


2. การคาดหมายสถานการณ์และการเฝ้าระวัง


2.1 กรมอุตุนิยมวิทยา บริเวณความกดอากาศสูงกาลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยแล้ว ทาให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลงและอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศา สาหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทาให้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนเพิ่มมากขึ้น ส่วนอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 19-23 ต.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระมัดระวังสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง


2.2 กรมชลประทาน


- ลุ่มน้ายม ยังคงมีน้าล้นตลิ่งที่ อ.บางระกา จ.พิษณุโลก 3.94 เมตร ลดลง อ.สามง่าม อ.โพทะเล อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร 0.79 เมตร มีแนวโน้มลดลง


3 ศูนย์สนับสนุนการอานวยการและการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ท่าอากาศยานดอนเมือง


โทร. 0 2504 3584 0 2504 3563 โทรสาร. 02 504 3584 E-Mail : dpm_eoc@yahoo.com


โทร. 0 2637 3580 - 5 โทรสาร 0 2241 7450 - 6 สายด่วนนิรภัย 1784 E-Mail : operation@nirapai.com www.disaster.go.th


- ลุ่มน้ำน่าน ยังคงมีน้าล้นตลิ่งที่ อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ 0.07 เมตร ปริมาณน้าไหลผ่าน 1,541 ลบ.ม./วินาที มีแนวโน้มลดลง


- ลุ่มน้ำมูล มีน้าล้นตลิ่งที่ อ.โชคชัย อ.พิมาย จ.นครราชสีมา มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อ.คูเมือง อ.สตึก เพิ่มขึ้น จ.บุรีรัมย์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อ.ราษีไศล อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ เพิ่มขึ้น อ.ตระการพืชผล อ.เมือง จ.อุบลราชธานี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อ.ด่านขุนทด ลดลง อ.ปักธงชัย อ.โนนไทย อ.จักราช เพิ่มขึ้น จ.นครราชสีมา อ.ลาปลายมาศ ลดลง อ.สตึก อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ เพิ่มขึ้น อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด มีแนวโน้มลดลง อ.ห้วยทับทัน อ.ขุขันธ์ อ.อุทุมพรพิสัย อ.เมือง อ.พยุห์ อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น


- ลุ่มน้ำชี ยังคงมีน้าล้นตลิ่งที่ อ.มัญจาคีรี อ.เมือง จ.ขอนแก่น มีแนวโน้มลดลง อ.โกสุมพิสัย อ.เมือง จ.มหาสารคาม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อ.จังหาร อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด เพิ่มขึ้น อ.เมือง อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร เพิ่มขึ้น อ.น้าพอง จ.ขอนแก่น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ แนวโน้มลดลง


- ลุ่มน้ำสะแกกรัง มีน้าล้นตลิ่ง อ.เมือง จ.อุทัยธานี 0.28 เมตร แนวโน้มลดลง


- ลุ่มน้ำป่าสัก ยังคงมีน้าล้นตลิ่งที่ อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ 0.57 เมตร แนวโน้มลดลง


- ลุ่มน้ำปราจีนบุรี ยังคงมีน้าล้นตลิ่ง ที่ อ.กบินทร์บุรี อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น


- ลุ่มน้ำท่าจีน มีน้าล้นตลิ่งที่ อ.เมือง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี อ.บางเลน อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม แนวโน้มลดลง


- ลุ่มน้าเจ้าพระยา ยังมีน้าล้นตลิ่ง ที่ อ.เมือง จังหวัดนครสวรรค์ +0.54 เมตร ปริมาณน้าผ่าน 4,452 ลบ.ม./วินาที (ลดลง) เขื่อนเจ้าพระยา มีระดับน้าหน้าเขื่อน 17.71 ม.รทก.ปริมาณน้าผ่าน 3,610 ลบ.ม./วินาที (ลดลง) ล้นตลิ่งที่ต่าริมแม่น้า จ.อุทัยธานี จ. ชัยนาท จ. สิงห์บุรี +1.27 เพี่มขึ้น จ.ลพบุรี จ. อ่างทอง -0.07 จ.สุพรรณบุรี จ.พระนครศรีอยุธยา +1.26 ลดลง จ.สระบุรี จ.ปทุมธานี +0.95 จ.นนทบุรี +0.17 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปริมาณน้าผ่าน อ.บางไทร จ. พระนครศรีอยุธยา+0.04 ปริมาณน้าผ่าน 3,736 ลบ.ม./วินาที


- สถานการณ์น้าเขื่อนเก็บน้าขนาดใหญ่


เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้า 99 % ปริมาณน้าเข้า 90 ล้าน ลบ.ม. ระบายออก 60 ล้าน ลบ.ม. (694 ลูกบาศก์เมตร/วินาที) รับได้อีก 31 ล้าน ลบ.ม.


เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้า 99 % ปริมาณน้าเข้า 29 ล้าน ลบ.ม. ระบายออก 10 ล้าน ลบ.ม.(116 ลูกบาศก์เมตร/วินาที) รับได้อีก 70 ล้าน ลบ.ม


เขื่อนแควน้อย มีปริมาณน้า 100 % ปริมาณน้าเข้า 10 ล้าน ลบ.ม. ระบายออก 8.6 ล้าน ลบ.ม.(99 ลูกบาศก์เมตร/วินาที) (เมื่อวาน)


เขื่อนป่าสัก มีปริมาณน้า 138 % ปริมาณน้าเข้า 45 ล้าน ลบ.ม. ระบายออก 26 ล้าน ลบ.ม.(300 ลูกบาศก์เมตร/วินาที) (เมื่อวาน)


เขื่อนนเรศวร ระบายผ่าน 615 ลูกบาศก์เมตร/วินาที


เขื่อนพระรามหก ระบายผ่าน 628 ลบ.ม./วินาที


เขื่อนอุบลรัตน์ มีปริมาณน้า 119 % ปริมาณน้าเข้า 37 ล้าน ลบ.ม. ระบายออก 50 ล้าน ลบ.ม. (590 ลูกบาศก์เมตร/วินาที)


เขื่อนลาปาว มีปริมาณน้า 100 % ปริมาณน้าเข้า 18 ล้าน ลบ.ม. ระบายออก 10 ล้าน ลบ.ม. (116 ลูกบาศก์เมตร/วินาที)


2.3 กรุงเทพมหานคร ปริมาณน้าฝน 24 ชม. - ไม่มี - วันที่ 18 ต.ค.54 ระดับน้าของแม่น้าเจ้าพระยาสูงสุด ณ ปากคลองตลาด เวลา 11.15 น. ระดับน้า 2.05 ม.รทก. ยังต่ากว่าระดับแนวป้องกัน 75 ซม. ไม่มีผลกระทบกับพื้นที่ กทม. และวันนี้ (19 ต.ค.54) น้าทะเลหนุนสูงสุดเวลาประมาณ 13.02 น. คาดว่าจะต่ากว่าในช่วงเช้า จะไม่มีผลกระทบกับพื้นที่ภายในแนวป้องกันของ กทม. แต่ต้อง เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด สภาพน้าในคลองสายหลักในพื้นที่อยู่ในสภาวะปกติ ระดับน้าแนวคันกั้นน้าของ กทม. เทียบกับเมื่อวานนี้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1-2 ซม. สาหรับพื้นที่ที่มีน้าท่วม ประกอบด้วย ชุมชน ริมแม่น้าเจ้าพระยา ซึ่งอยู่นอกแนวป้องกัน และพื้นที่ด้านตะวันออกนอกแนวคั้นกั้นน้า บริเวณเขตมีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง และคลองสามวา ต้องเฝ้าระวังปริมาณน้าจากคลองระพีพัฒน์


ทั้งนี้ กทม. ได้กาหนดศูนย์อพยพเป็นโรงเรียน 158 แห่ง ใน 24 เขต สามารถรองรับผู้อพยพได้ 35,805 คน โดยสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้าท่วม กทม. 0-2248-5115 หรือสายด่วน กทม.1555 ตลอด 24 ชม. หรือที่เว็บไซต์ http://dds.bangkok.go.th


2.4 กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ วันที่ 19 ต.ค. 54 น้ำขึ้น 2 ครั้ง ในเวลา 13.02 น. คาดว่าจะสูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 2.03 ม. และในเวลา 20.19 น. คาดว่าจะสูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 1.96 ม. และจากปริมาณการระบายน้า ในปัจจุบันคาดว่าในช่วงน้าทะเลหนุนสูงในวันที่ 27-31 ต.ค. 54 จะสูงกว่าระดับทะเลปานกลางประมาณ 2.30-2.35 ม.

ข่าวสถานการณ์น้ำกรมชลประทาน

ข่าวสถานการณ์น้ำกรมชลประทาน 21 ต.ค.54
ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สถานการณ์น้ำเจ้าพระยา : เจ้าพระยาตอนบนลดลงต่อเนื่อง/ ขอความเห็นใจร่วมกันจัดการน้ำหลาก
ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ รายงานสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา (21 ต.ค. 54) ที่จังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 4,308 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากวานนี้ 72 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 46 เซนติเมตร มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท 3,554 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากวานนี้ ระดับน้ำเหนือเขื่อน สูงกว่าระดับตลิ่ง 64 เซนติเมตร ระดับน้ำท้ายเขื่อนสูงกว่าตลิ่ง 1.14 เซนติเมตร
สำหรับจังหวัดสิงห์บุรี มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,905 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากวานนี้เล็กน้อย ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.25 เมตร จังหวัดอ่างทอง มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,643 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากวานนี้เล็กน้อย ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 9 เซนติเมตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,465 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากวานนี้เล็กน้อย ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.23 เมตร ส่วนที่อ.บางไทร มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 3,669 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากวานนี้ 57 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 11 เซนติเมตร
แนวโน้มสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากปริมาณน้ำที่จังหวัดนครสวรรค์ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างเริ่มลดลง แต่ยังคงมีน้ำที่ขังอยู่ในทุ่งจำนวนมากไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ปริมาณน้ำในพื้นที่ตอนล่างบริเวณจังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา จะยังอยู่ในระดับทรงตัวและลดลงในระยะต่อๆไป หากไม่มีฝนตกหนักลงมาเพิ่มเติมการระบายน้ำออกสู่ทะเลจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
          สำหรับสถานการณ์น้ำในคลองระพีพัฒน์ นั้น เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ฝั่งตะวันออกตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยา กรมชลประทาน ได้ปิดการรับน้ำเข้าคลองระพีพัฒน์แล้ว พร้อมทั้ง ได้เร่งระบายน้ำตามคลองต่างๆ ให้ไหลออกสู่ทะเลอ่าวไทยให้เร็วที่สุด
อย่างไรก็ตาม การเร่งระบายน้ำออกทางทะเลอ่าวไทย ในหลายจุดยังประสบภัยปัญหาความไม่เข้าใจของประชาชนในบางพื้นที่ ทำให้การระบายน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำในพื้นที่ตอนบนของกรุงเทพฯ ลงสู่ทางตอนล่าง ก่อนที่จะเร่งสูบและระบายลงทะเลอ่าวไทยโดยลำดับ เป็นไปได้ด้วยความยากลำบาก
กรมชลประทาน จึงขอความร่วมมือจากประชาชนให้ร่วมแรงร่วมใจกัน พร้อมกับสนับสนุนให้การบริหารจัดการน้ำเหนือที่กำลังไหลหลากอยู่ในขณะนี้ เป็นไปด้วยความราบรื่น แม้ว่าอาจจะได้รับผลกระทบบ้างจากการดำเนินงานดังกล่าว แต่เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียหายที่เกินจะคาดคิด จึงขอความเห็นใจและยินยอมให้การดำเนินการเร่งระบายน้ำในครั้งนี้เป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้ด้วย จักขอบพระคุณยิ่ง
**********************************
21 ตุลาคม 255

ข่าวสถานการณ์น้ำกรมชลประทาน
ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โทร.สายด่วน 1460 / E- mail : wmsc.1460@gmail.com / http://water.rid.go.th/wmsc
----------------------------------------------------------------------------------------------------
สถานการณ์น้ำเจ้าพระยา : เจ้าพระยาตอนล่างทรงตัว เริ่มลดลงบางแห่ง

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ รายงานสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา (19 ต.ค. 54) ที่จังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 4,452 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากวานนี้ 72 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 54 เซนติเมตร มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท 3,610 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทรงตัวจากวานนี้ ระดับน้ำเหนือเขื่อน สูงกว่าระดับตลิ่ง 71 เซนติเมตร ระดับน้ำท้ายเขื่อนสูงกว่าตลิ่ง 1.21 เซนติเมตร
สำหรับจังหวัดสิงห์บุรี มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,910 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากวานนี้ 15 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.26 เมตร จังหวัดอ่างทอง มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,656 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากวานนี้เล็กน้อย ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 6 เซนติเมตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,471 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากวานนี้ ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.25 เมตร ส่วนที่อ.บางไทร มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 3,755 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากวานนี้ 21 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 7 เซนติเมตร
แนวโน้มสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากปริมาณน้ำที่จังหวัดนครสวรรค์ลดลงอย่างต่อเนื่องช้าๆ ส่งผลให้ปริมาณน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างทรงตัวและเริ่มลดลงบางพื้นที่ ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าปริมาณน้ำจะลดลงแต่ยังคงมีปริมาณน้ำในทุ่งต่างๆ ที่จะไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะทำให้ปริมาณน้ำในพื้นที่ตอนล่างบริเวณจังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา อยู่ในระดับทรงตัวไปอีกสักระยะหนึ่ง หากไม่มีฝนตกหนักลงมาเพิ่มเติมการระบายน้ำออกสู่ทะเลจะเริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นในระยะต่อๆไป     สำหรับสถานการณ์น้ำในคลองระพีพัฒน์ ที่แบ่งรับน้ำจากแม่น้ำป่าสัก เพื่อระบายลงสู่คลองต่างๆ ก่อนระบายออกสู่แม่น้ำนครนายก แม่น้ำบางปะกง และทะเลอ่าวไทย นั้น เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ฝั่งตะวันออกตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยา กรมชลประทานได้ปิดการรับน้ำเข้าคลองระพีพัฒน์แล้ว พร้อมทั้งได้เร่งระบายน้ำตามคลองต่างๆ ให้ไหลออกสู่ทะเล
อ่าวไทยให้เร็วที่สุด
**********************************
19 ตุลาคม 2554

15 ต.ค. 2554

สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดลพบุรี

สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดลพบุรี
ข่อมูลจากศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินถล่ม จังหวัดลพบุรี 2554 14 ตุลาคม 2554


สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดลพบุรีได้เกิดสถานการณ์น้ำท่วม
ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน ๒๕๕4

เป็นต้นมา โดยแบ่งเป็น 2 สาเหตุ


1. ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในพื้นที่จังหวัดลพบุรีตั้งแต่วันที่ 9-12 กันยายน 2554 ทำให้เกิด


น้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่ 11 อำเภอ โดยปริมาณน้ำ ฝนมากที่สุดที่อำ เภอหนองม่วง และอำ เภอสระโบสถ์


วัดได้ ๑30 มม. และพื้นที่อีกหลายอำเภอมีปริมาณฝนที่ตกมากกว่า ๑๐๐ มม.ทำให้น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ราบลุ่ม


ในเขตชุมชนเมืองสร้างความเสียหาย ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมจากกรณีฝนตกเริ่มคลี่คลายแล้ว


2. น้ำท่าเนื่องจากสาเหตุความชำรุดประตูระบายน้ำบางโฉมศรี อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ชำรุดตั้งแต่


วันที่ 13 กันยายน คันกั้นน้ำเจ้าพระยาที่ อ.มโนรมย์ อ.เมือง จ.ชัยนาท และทางน้ำล้นของเขื่อนเจ้าพระยาล้น


(spillway) อ.เมือง จ.ชัยนาท ที่สำคัญรวม 5 จุด จึงทำให้น้ำล้นเข้าสู่พื้นที่ราบลุ่มในเขตพื้นที่จังหวัดลพบุรีจำนวน


วันละประมาณกว่า 70 ล้าน ลบ.ม. ทำให้น้ำท่วมพื้นที่ลพบุรีพื้นที่นากว่า 417,811 ไร่ ซึ่งปริมาณน้ำที่อยู่ในพื้นที่


กว่า 1,800 ล้าน ลบ.ม. สร้างความเสียหายให้อย่างมาก ซึ่งสถานการณ์มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มความรุนแรงสูงขึ้นเป็นลำดับ
สถานการณ์สำคัญ
-อำเภอเมืองลพบุรี น้ำท่วมสูงประมาณ 1.0๐-6.03 ม. ได้แก่ ต.ทะเลชุบศร ป่าตาล ท่าแค เขาพระงาม
บ้านข่อย สี่คลอง พรหมมาสตร์ บางขันหมาก โคกลำพาน ดอนโพธิ์ โพธิ์เก้าต้น โก่งธนู งิ้วราย ถนนใหญ่ ท้ายตลาด โพธิ์ตรุฯลฯ


-อำเภอบ้านหมี่ น้ำท่วมสูงประมาณ 1.00-4.03 ม. ได้แก่ ต.หนองเมือง พุคา บางขาม มหาสอน บ้านชี


บางพึ่ง ไผ่ใหญ่ สนามแจง สายห้วยแก้ว หนองเต่า โพนทอง ฯลฯ


-อำเภอท่าวุ้ง น้ำท่วมสูงประมาณ 1.00 – 3.53 ม. ได้แก่ ทต.ท่าโขลง ทต.ท่าวุ้ง ต.เขาสมอคอน บางคู้ ลาดสาลี่ บางลี่


โพตลาดแก้ว โคกสลุด บางงา บ้านเบิก มุจลินทร์ หัวสำโรง ฯลฯ


จังหวัดลพบุรีมีพื้นที่เกิดอุทกภัย 11 อำเภอ 22 ตำบล 1,097 หมู่บ้าน 83 ชุมชนประกอบด้วย


อำเภอเมืองลพบุรี บ้านหมี่ ชัยบาดาล พัฒนานิคม ท่าหลวง ท่าวุ้ง โคกสำโรง หนองม่วง ลำสนธิ สระโบสถ์


และอำเภอโคกเจริญ และได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว 11 อำเภอ ๑22 ตำบล 1,097 หมู่บ้าน 83 ชุมชนฯลฯ

ด้านผู้ประสบภัย
ผู้ประสบภัยทั้งสิ้น 74,509 ครัวเรือน 203,525 คน (สำรวจครัวเรือนช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินครัวเรือนละ ๕,๐๐๐ บาท จำนวน 65,949 ครัวเรือนผู้เสียชีวิต จำนวน 22 ราย สาเหตุจมน้ำ 19 ราย ไฟฟ้าช๊อต 3 ราย

ด้านการเกษตร
เกษตรกร 22,791 ราย พื้นที่นาประมาณ 350,803 ไร่ พืชไร่ 171,522 ไร่ พืชสวน 6,596 ไร่
รวมพื้นที่ประสบภัย 528,921 ไร่

ด้านปศุสัตว์ , ประมง
เกษตรกร 11,787 ราย แปลงหญ้า 716 ไร่ สัตว์เลี้ยง (โค กระบือ สุกร ฯลฯ) 37,073 ตัว สัตว์ปีก
1,571,016 ตัว สัตว์เลี้ยงอื่น ๆ 1,853 ตัว บ่อปลา 1,041 บ่อ เนื้อที่ 3,043 ไร่ ปลา 4,489,500 ตัว

สถานการณ์น้ำ( 14 ต.ค. ๕๔)
-คลองชัยนาทป่าสัก(ประตูน้ำมโนรมย์) เข้า 37.65 ม.๓ วินาที
-ปริมาณน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ปริมาณ 1,043.68 ล้าน ลบ.ม. (คิดเป็น 132.95%)
ของความจุอ่างฯที่ระดับเก็บกักปกติ (น้ำไหลลงอ่าง 51.07 ล้าน ลบ.ม.ระบาย 30.31 ล้านลบ.ม.)
-เขื่อนเจ้าพระยาระบาย 3,616 ม.3 วินาที )
ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินถล่ม จังหวัดลพบุรี 2554 14 ตุลาคม 2554

ด้านสิ่งสาธารณประโยชน์

ถนน 402 สะพาน 1 แห่ง วัด 179 แห่ง โรงเรียน 104 แห่ง( นักเรียนประสบภัย 15,392 คน )

สถานที่ราชการ 35 แห่ง

แนวทางการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น

1. อำ เภอเมืองลพบุรีขณะนี้ได้อพยพราษฎรจำ นวน 59 จุด 8,270 ครัวเรือน

27,482 คน

2. อำเภอบ้านหมี่ ขณะนี้ได้อพยพราษฎรจำนวน 44 จุด จำนวน 1,035 ครัวเรือน

3,507 คน

3. อำเภอท่าวุ้ง ขณะนี้ได้อพยพราษฎรจำนวน 32 จุดจำนวน 5,630 คน

รวมขณะนี้ได้มีการอพยพประชาชนแล้ว ๓ อำเภอ คือ อำเภอเมืองลพบุรี อำเภอท่าวุ้ง และ

อำเภอบ้านหมี่ จำนวน ๑๓๕ จุด ราษฎร ๓๖,๖๑๙ คน

การแจกจ่าย

-ถุงยังชีพจำนวน 130,000 ถุง ยาและเวชภัณฑ์ 149,722 ชุด ผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจรักษา

จาก สสอ. 33,141 คน น้ำดื่ม 300,000 ขวด

-เรือไฟเบอร์ ที่นั่ง จำนวน 1,450 ลำ

-เรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์ จำนวน 125 ลำ , ไม่มีเครื่อง 26 ลำ

-สุขาเคลื่อนที่ฉุกเฉิน 5,733 ชุด –สุขาลอยน้ำ 165 หลัง

-เต็นท์ยกพื้น 500 หลัง เต็นท์ส่วนบุคคล 1,000 หลัง

ด้านวัสดุอุปกรณ์

-เครื่องสูบน้ำเพื่อระบายน้ำลงคลองชลประทานจำนวน ๔๒ เครื่องเครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจำนวน 11 เครื่อง

-รถผลิตน้ำดื่ม จำนวน 2 คัน จาก ศปภ.เขต 16 ชัยนาท และ ศปภ.เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์

-รถไฟฟ้าส่องสว่าง จำนวน ๒ คัน จาก ศปภ. เขต ๑๖ ชัยนาท และ ศปภ.เขต 2 สุพรรณบุรี กรม ปภ.

- รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ 145 คัน

-รถแบ็คโฮ 10 คัน

- กระสอบทราย จำนวน 492,000 กระสอบ , -ทราย จำนวน ๑,550 คิว

ด้านกำลังคน

-บุคลากรจาก ศ.ปภ.เขต ๑๖ ชัยนาท, ศ.ปภ.เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ , ศปภ.เขต 6 ขอนแก่น, ศปภ.เขต ๘

กำแพงเพชร ศปภ.เขต 2 สุพรรณบุรี,ศ.ปภ. เขต 11 สุราษฎร์ ธานี . ศปภ.เขต 1 ปทุมธานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๑๕๐ คน

-สรรพกำลังของทหาร จำนวน ๑,6๕๐ นาย ตำรวจ 414 นาย เจ้าหน้าที่พลเรือน 250 นาย เจ้าหน้าที่

สาธารณสุข 6๐ คน อปพร./อสม./มูลนิธิ/ภาคเอกชน 500 คน

รวมบุคลากรที่ปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน 3,024 คน

ด้านการคมนาคม  ถนนที่ไม่สามารถสัญจรไปมาได้


กรมทางหลวง

-ทางหลวงหมายเลข 311 ลพบุรี –สิงห์บุรี (บ้านพรหมมาสตร์ บางขันหมาก , โพธิ์ตลาดแก้ว)

-ทางหลวงหมายเลข 311 เลี่ยงเมืองลพบุรี (บ้านโพธิ์เก้าต้น , บ้านตะลุง , บ้านโพธิ์ตลาดแก้ว)

กม.93+500 (ต่อเขต สน.บท.อยุธยา-อ่างทอง) ที่หลักกิโลเมตรที่ 77+480+820 (บริเวณหน้าวัดโพธิ์เก้าต้น)

-ทางหลวงหมายเลข 3196 ลพบุรี – บ้านแพรก (บ้านโพธิ์เก้าต้น , บ้านตะลุง , บ้านงิ้วราย และบ้านโก่งธนู

ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินถล่ม จังหวัดลพบุรี 2554 14 ตุลาคม 2554

กรมทางหลวงชนบท

-สายบ้านกล้วย – วัดมะขามเฒ่า อ.บ้านหมี่

-แยก ทล.3028 – บ.เกริ่นกฐิน ต.บ้านชี อ.บ้านหมี่

-สาย ม.3 เขาหมอนอิง ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง

-สาย หมู่ 2,4,5 ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง

- สาย บ.ไดโสน – บ.โก่งธนู ต.ดอนโพธิ์ อ.เมืองลพบุรี

-แยกทางหลวงหมายเลข 1 –บ้านดงพลับ , แยกทางหลวงหมายเลข 3196-บ้านหนองระแหง

บ้านท่าวุ้ง-บ้านหนองปลาดุก , แยกทางหลวงหมายเลข 3196-บ้านบางลี่ , แยกทางหลวงหมายเลข 3196-

บ้านบางอิฐ , แยกทางหลวงหมายเลข 3028-บ้านหนองปลาดุก , แยกทางหลวงหมายเลข 3027-วัดพรหมมาสตร์,

แยกทางหลวงหมายเลข 3196-บ้านโพธิ์ตลาดแก้ว , แยกทางหลวงหมายเลข 3028-บ้านเขาสาริกา ,แยกทางหลวง

หมายเลข 311-บ้านโพธิ์ผีให้ , แยกทางหลวงหมายเลข 3028- รร.บ้านหมี่ , แยกทางหลวงชนบท ลบ. 4132-

บ้านท่าแค , บ้านไผ่หน้ากระดาน – บ้านข่อยใต้ , รวมทั้งสิ้น 21 สายทาง

กรณีประสบภัยซ้ำซ้อนไฟไหม้บ้านขณะน้ำท่วม

1. นางเป้า ผลงาม อายุ 80 ปี บ้านเลขที่ 57 หมู่ 8 ต.บางงา อ.ท่าวุ้ง บ้านเสียหายทั้งหลัง จังหวัดได้ให้การ

ช่วยเหลือโดยมอบเงิน ๓๙,๕๐๐ บาท และนายกรัฐมนตรีได้เยี่ยมเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๔ โดยจะมอบเงินช่วยเหลือเพิ่มเติม-

ความต้องการช่วยเหลือของจังหวัดลพบุรี

1. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนจังหวัดลพบุรีเป็นจำนวนมากต้องการให้รัฐบาลหาทางช่วยแก้ไขปัญหาประตู

ระบายน้ำบางโฉมศรีและจุดอื่นๆ ที่ขาดเสียหายในจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี ซึ่งมีผลกระทบทำให้น้ำจำนวนมากไหลเข้าท่วมพื้นที่จังหวัดลพบุรี

2. เรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์และคนขับเพิ่มเติม ๒๐๐ ลำ เรือพาย จำนวน ๑,๐๐๐ ลำและเสื้อชูชีพ 15,000 ตัว

3. ห้องส้วมแบบตู้ลอยน้ำ จำนวน ๕๐๐ ชุด

4. น้ำดื่ม อาหาร เพื่อดูแลผู้ประสบภัยในเวลาไม่ต่ำกว่า ๔๕ วัน

ข้อมูลระดับน้ำ ณ วันที่ 13 ตุลาคม 2554 เวลา 16.00 น.

นครสวรรค์ สถานีที่ c2 ระดับ +26.87 ม.ร.ทก. 4,686 ลบ.ม. / วินาที

เขื่อนเจ้าพระยา ระดับเหนือน้ำ +17.80 ม.รทก. ท้ายน้ำ +17.61 ม.รทก.
ผ่าน 3,625 ลบ.ม./วินาที

ปตร.บางลี่ ระดับ +10.80 ม.รทก. ขึ้น 1 เซนติเมตร

ปตร.วัดมณีชลขัณฑ์ ระดับ +10.53 ม. รทก. เท่าเดิม

โพธิ์เก้าต้น ระดับ +10.16 ม.รทก. เท่าเดิม

ปริมาณน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ปริมาณ 1,025.63 ล้าน ลบ.ม.(คิดเป็น 130.65%) ของความจุอ่างฯที่ระดับเก็บกักปกติ

(น้ำไหลลงอ่าง 58.41 ล้าน ลบ.ม.ระบาย 47.52 ล้านลบ.ม.)

ข้อมูล ณ วันที่ 14 ตุลาคม 2554เวลา 07.35 น.

สถานการณ์น้ำลพบุรี เมื่อ 17 ต.ค.54 (ล่าสุด)
 
17 ตค 54/ นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี พร้อมด้วย พล.ท.ศุภรัตน์ พัฒนาพิสุทธ์ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จังหวัดลพบุรีขึ้นบินสำรวจสภาพน้ำท่วมใน 3 อำเภอของจังหวัดลพบุรีคืออำเภอบ้านหมี่ อำเภอท่าวุ้ง อำเภอเมืองลพบุรียาวไปจนถึงเขื่อนเจ้าพระยาและประตูระบายน้ำมโนรมย์ของจังหวัดชัยนาท ซึ่งจากการบินสำรวจพบว่าในพื้นที่ของ 3 อำเภอของจังหวัดลพบุรีนั้นมีน้ำท่วมสูงและหลายตำบลที่ถูกน้ำท่วมนั้นไม่มีพื้นดินให้ชาวบ้านอยู่เนื่องจากถูกน้ำท่วมทั้งหมด
นอกจากนี้จากการบินสำรวจยังพบว่าตั้งแต่เขื่อนเจ้าพระยาลงมาถึงจังหวัดลพบุรีพบว่าหลังจากปิดประตูบางโฉมศรีที่แตกได้แล้วทำไมน้ำในพื้นที่จังหวัดลพบุรีถึงยังไม่ยอมทรงตัวและยังมีน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอีก เมื่อบินขึ้นดูทางอากาศจึงได้พบว่ามีรอยแตกของคันดินเพิ่มอีก 3 จุด คือ คันดินคันคะนนและเขากระดี่ในจังหวัดชัยนาท และคันดินท่างามในอำเภออินทร์บุรีจังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งเป็นรอยแตกใหม่ของคันดินซึ่งจุดนี้อยู่ห่างจากประตูน้ำบางโฉมศรีไม่มากนักมีความยาวประมาณ 100 เมตรทำให้ปริมาณน้ำยังคงไหลทะลักเข้ามาในพื้นที่ของจังหวัดลพบุรีอย่างต่อเนื่องทำให้ต้องมีการปรับแผนใหม่เพื่อดูแลชาวบ้านของจังหวัดลพบุรีเพราะเมื่อพบรอยแตกใหม่ก็จะทำให้น้ำยังคงขึ้นสูงอย่างต่อเนื่องและจะยังจะไม่ลดลงง่ายอย่างแน่นอน
โดยนายฉัตรชัย พรหมเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เปิดเผยว่า ขณะนี้น้ำได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในฝั่งตะวันตกที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมจากประตูน้ำบางโฉมศรีที่แตกตั้งแต่วันที่ 13 กันยายนที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้น้ำก็ยังเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยวันละ 2-5 เซนติเมตร ทำให้ทหารที่นำรถวิ่งรถส่งชาวบ้านในอำเภอบ้านหมี่บนถนนสายท่าโขลง-บ้านหมี่จำเป็นต้องถอนกำลังออกมาเป็นทีมสุดท้ายแล้วหลังบนถนนมีน้ำท่วมสูงจนรถไม่สามารถวิ่งได้แล้วต้องใช้เรือวิ่งเท่านั้นเพื่อความปลอดภัยทั้งรถและประชาชน ส่วนอีกสายก็คือสายลพบุรี-สิงห์บุรีที่ขณะนี้ห้ามรถเล็กทุกชนิดวิ่งแล้วยกเว้นรถ 6 ล้อเท่านั้นเนื่องจากเมื่อวานมีลมแรง ทำให้พัดรถกระบะตกลอยไปกับน้ำจำนวนหลายคันจึงปิดการใช้ถนนของรถเล็กแล้ว  ซึ่งทางผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรียังได้ขอร้องชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วมสูงในอำเภอบ้านหมี่ทั้งในตำบลบางพึ่งและตำบลมหาสอนขอให้อพยพออกมาอยู่ที่ศูนย์อพยพไม่ต้องห่วงทรัพย์สินในขณะนี้ขอให้เอาชีวิตรอดก่อนเนื่องจากปริมาณน้ำยังคงเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่องหากโดยขอให้แจ้งมายังเจ้าหน้าที่ทางจังหวัดจะนำเรือเข้าไปช่วยอพยพออกมา โดยขณะนี้ได้จัดพื้นที่ไว้ให้แล้ว ที่โรงพยาบาลบ้านหมี่ ที่ว่าการอำเภอบ้านหมี่และสนามกีฬาอำเภอบ้านหมี่ไว้รองรับชาวบ้านอย่างสะดวกสบายกว่าอยู่ที่บ้านอย่างแน่นอน

23 ก.ย. 2554

คุณลักษณะพยาบาลที่ผู้รับบริการคาดหวัง และพึงพอใจ



คุณลักษณะพยาบาลที่ผู้รับบริการคาดหวัง และพึงพอใจ 

มีผู้ศึกษาไว้มากมาย ซึ่งศึกษาได้จากเอกสาร การสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้รับบริการ ประชาชน และจากผลงานวิจัยต่าง ๆ ซึ่งพอจะสรุปได้เป็นประเด็นทางด้านความรู้ ความสามารถ ด้านจริยธรรม และด้านทักษะการปฏิบัติการพยาบาล ดังนี้
จากการศึกษาแนวโน้มในอนาคตด้านการผลิตและการพัฒนากำลังคน สาขาพยาบาลศาสตร์ (กาญจนา สันติพัฒนาชัย และคณะ, 2544) ในประเด็นคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาที่พึงประสงค์ พบว่า ในส่วนการศึกษาคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษา หรือบัณฑิตสาขาพยาบาลศาสตร์ที่พึงประสงค์ในปัจจุบันและอนาคตที่ได้มาจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข และจากหน่วยงานอื่นทั้งในและต่างประเทศ ดังกล่าวข้างต้น จึงสรุปคุณลักษณะของผู้สำเร็จ การศึกษา หรือบัณฑิตสาขาพยาบาลศาสตร์ที่พึงประสงค์ว่าควรมีลักษณะดังนี้

1. ความสามารถด้านการปฏิบัติการพยาบาล

1) มีทักษะความสามารถ ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการพยาบาลเป็นอย่างดี เน้นการป้องกัน และ ส่งเสริม สุขภาพ การดูแลสุขภาพชุมชน

2) มีความสามารถในการให้บริการพยาบาลโดยใช้แนวคิด ทฤษฎีการพยาบาล กระบวนการพยาบาล และศาสตร์สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง










2. ความสามารถด้านวิชาการ

1) มีความสามารถในการคิด ใช้วิจารณญาณและการตัดสินใจในการแก้ปัญหาสุขภาพ

2) มีความคิดริเริ่มปรับปรุงงานให้ทันต่อความก้าวหน้าของวิทยาการและเทคโนโลยี

3) มีความคิด ความสามารถเป็นสากล หรือในเชิงนานาชาติ

4) สามารถคัดกรอง แปล วิเคราะห์ และเลือกใช้ข้อมูล

5) มีความสามารถในการคิดรวบยอด วิเคราะห์ วิจารณ์

6) มีทักษะ ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตลอดชีวิตมีความรอบรู้ในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบการบริการสุขภาพ และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ความรู้ด้านประชากรศาสตร์ เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข การตลาด ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ฯลฯ













3. ความสามารถด้านการบริหาร

มีความสามารถในการเป็นผู้บริหารและการจัดการที่ดีมีความสามารถในการประกันการดูแล คุณภาพของการบริการ

4. ความสามารถด้านการวิจัย

แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาศาสตร์ทางวิชาชีพสามารถร่วมทำวิจัยและนำผลการวิจัยมาใช้

5. ความสามารถด้านทักษะเกี่ยวกับมนุษย์และมวลชน

1) สามารถทำงานร่วมกับทีมสุขภาพและบุคคลอื่นได้

2) มีการปรับตัว ยอมรับการเปลี่ยนแปลง เปิดกว้าง รับรู้สิ่งใหม่ ๆ

3) มีความสามารถทางภาษา

4) มีศักยภาพด้านมนุษยสัมพันธ์มีความสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น





6. ความสามารถในการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการปกครอง

สามารถคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมและการเมืองที่มีผลต่อการปฏิบัติการพยาบาลและสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงได้สนับสนุนหลักการประชาธิปไตย และดำรงตนเป็นพลเมืองดีของสังคม

7. คุณสมบัติด้านคุณธรรม และจริยธรรม

1) มีสมรรถนะให้คำปรึกษาด้านจริยธรรมที่เกี่ยวกับสุขภาพ

2) มีความปรารถนา และพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่น ประชาชน

3) มีค่านิยมร่วมในขนมธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของสังคม

4) มีคุณธรรม จริยธรรมในด้านส่วนตัว และหน้าที่การงาน

5) มีความจงรักภักดีต่อหน่วยงาน และองค์การ

6) ตระหนักและคำนึงถึงคุณค่าของวิชาชีพและสิทธิมนุษยชนของผู้รับบริการ

7) ใฝ่ดี ธำรงรักษาเอกลักษณ์ไทยที่พึงประสงค์

8. ความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยี

เข้าใจและใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสามารถจัดการและใช้สารสนเทศในด้านต่าง ๆ ได้

9. ความสามารถด้านภาวะผู้นำ

มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นผู้นำและแหล่งบริการวิชาการที่เกื้อกูล ประโยชน์ต่อสาธารณสุขและสังคม

10. คุณสมบัติด้านบุคลิกภาพ

มีบุคลิกภาพที่เหมาะสมด้านการแต่งกาย อารมณ์และจิตใจ มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขันมีความสุข

11. คุณสมบัติด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ประหยัด และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าให้ความรู้ รณรงค์ ป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ที่ผลกระทบต่อสุขภาพ อันเนื่องมาจากสิ่งแวดล้อมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
และสุดท้ายในการปฏิบัติงานต่างๆ ของพยาบาล หลักฐานชิ้นสำคัญที่จะสามารถบอกถึงความเป็นวิชาชีพของพยาบาล นั่นก็คือ บันทึกทางการพยาบาล พวกเราพยาบาลวิชาชีพทุกท่าน จึงต้องตระหนัก และให้ความสำคัญ โดยต้องพยายามร่วมกันบันทึกสิ่งที่เราได้ปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพนั้นๆ ให้ปรากฏอย่างเด่นชัดในบันทึกทางการพยาบาล เพื่อยืนยันความเป็นวิชาชีพร่วมกับวิชาชีพสาขาอื่นๆ นะค่ะ พบกันใหม่ในตอนหน้านะค่ะ ขอบคุณคะ








หนังสืออ้างอิง

กองการพยาบาล. (2544). การประกันคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล: งานบริการพยาบาลผู้ป่วยใน. กรุงเทพ: สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข.

คณะอนุกรรมการจริยธรรม. (2545). แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาลตามจรรยาบรรณวิชาชีพ.กรุงเทพ: สภาการพยาบาล.

16 ก.ย. 2554

องค์กรจะรักษาคนเก่ง ให้อยู่นานๆได้อย่างไร?


จากการวิจัยของ 3 องค์กรดัง อย่าง Hay Group ในปี 2005 McKinsey & Co. ในปี 2006 และ Towers Perrin ในปี 2007 ถึง

สาเหตุที่ทำให้พนักงานจากองค์กรไป ได้ข้อสรุปตรงกันดังนี้ คือ

1. การได้รับข้อมูลป้อนกลับ และการโค้ชที่ไม่เพียงพอ
2. ขาดโอกาสในการเรียนรู้ และการพัฒนาตนเอง
3. การให้รางวัล ผลตอบแทน รวมถึงการชมเชยในการทำงานที่น้อยเกินไป
4. ความรู้สึกว่าองค์กรเห็นความสำคัญในตัวเขา ที่แทบจะหาไม่ได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าสาเหตุทั้ง 4 ประการ มีผลมาจากทักษะ และความสามารถในการบริหารจัดการของหัวหน้างานทั้งสิ้น ดังนั้นองค์กรจึงควรหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะ และความสามารถของหัวหน้างานให้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อจะได้รักษาพนักงานที่เก่งๆ ดีๆ ให้อยู่กับองค์กรต่อไปนานๆ


องค์กรจะรักษาคนดีคนเก่ง ให้อยู่นานๆ ได้อย่างไร
คนเก่งคนดี (talents) หามาพัฒนาแล้วไม่นานก็จากไปทำอย่างไรจึงจะรักษาคนเหล่านี้ไว้ได้ ? คำถามประเภทนี้เป็นคำถามยอดฮิต หรือเรียกได้ว่าเป็นคำถามอมตะ ซึ่งหมายถึงว่า ไม่ว่าผมจะไปพูดที่เวทีไหน หรือทำงานให้องค์กรใดก็แล้วแต่ จะต้องมีคนถามคำถามทำนองนี้เป็นประจำ
ทุกวันนี้คนพูดถึง คนเก่งคนดี (talents) กันเยอะ หลายคนคงเคยได้ยินเรื่อง talent management เรียกได้ว่า ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาแห่งสงครามแย่งชิงคนเก่งคนดี (War of Talents) หลายองค์กรหมดเงินหมดทองไปมากมายในการสรรหา และพัฒนาคนเก่งคนดีขององค์กรแต่แล้วก็ไม่สามารถเก็บพวกเขาไว้ได้ ประมาณว่า ใช้ยังไม่ทันคุ้มก็ไปซะแล้ว
ก่อนที่เราจะพูดถึงวิธีการรักษาคนเหล่านี้ไว้ ลองมาดูกันก่อนว่าแล้วอะไรล่ะ เป็นปัจจัยที่ทำให้คนเหล่านี้หนีหายไปจากองค์กร
ปัจจัยสำคัญที่หลายๆ องค์กรมองข้าม คือเรื่องของหัวหน้างาน
ผมขออนุญาตอ้างถึงคำพูดของ Jack Welch อดีต CEO ของ General Electric ที่เคยพูดไว้ว่า...ไม่มีอะไรจะเลวร้ายไปกว่า การเอาพนักงานดีๆ ไปไว้กับหัวหน้างานที่ไม่ได้เรื่อง (deadwood) เพราะผลที่องค์กรจะได้รับ ไม่ใช่พัฒนาการที่ดีขึ้นของหัวหน้างานที่ไม่ได้เรื่อง แต่กลับเป็นการจากไปของพนักงานดีๆ ต่างหาก ยิ่งในปัจจุบัน คนทำงานยุคใหม่หันมาให้ความสนใจกับผลการทำงานของตนเองมากขึ้น ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ผลการทำงานของเขาออกมาดีได้นั้น คือการได้รับการพัฒนา และการได้รับข้อมูลป้อนกลับจากหัวหน้า ไม่ว่าจะเป็นคำติ หรือคำชม แต่คนส่วนมาก (โดยเฉพาะคนไทย) ชมไม่ค่อยเป็น เป็นแต่ติ (แถมติแบบรุนแรงด้วย) ทั้งนี้เพราะการยึดติดอยู่กับความคิดที่ว่าชมมากแล้วเหลิง และติเพื่อก่อ ซึ่งจริงๆ แล้ว คนส่วนมากแปลความหมายผิด คำว่าชมมากแล้วเหลิง ไม่ได้แปลว่าไม่ให้ชมเลย แต่หมายถึงการไม่ชมพร่ำเพรื่อ ส่วนติเพื่อก่อ แปลว่าการติอย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช่แบบหักหาญน้ำใจกัน

สาเหตุทั้ง 4 ประการดังกล่าวข้างต้น มีผลมาจากทักษะ และความสามารถในการบริหารจัดการของหัวหน้างานทั้งสิ้น ดังนั้นองค์กรจึงควรหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะ และความสามารถของหัวหน้างานให้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อจะได้รักษาพนักงานที่เก่งๆ ดีๆ ให้อยู่กับองค์กรต่อไปนานๆ เพราะไม่ว่าคุณจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ผมขอยืนยัน นั่งยัน และนอนยัน ในคำพูดที่มักได้ยินกันคุ้นหูว่าคนเข้าทำงานเพราะองค์กร แต่จากไปเพราะหัวหน้างาน (People join organization but leave their boss)

ทักษะที่หัวหน้างานในยุคปัจจุบันควรได้รับการพัฒนาเพิ่มเติม แบบเรียกว่าเป็นไฟลต์บังคับ ได้แก่
1.ภาวะผู้นำ (leadership)
เมื่อพูดถึงภาวะผู้นำ เรามักพบว่าต่างคนต่างให้คำจำกัดความกันไปหลากหลาย สำหรับผม ผมชอบคำจำกัดความที่สั้นๆ ง่ายๆ แต่ได้ใจความของนักคิดตะวันตกอย่าง Steven Covey ซึ่งบอกไว้ว่าผู้นำมีหน้าที่อย่างน้อย 4 อย่างคือ คอยชี้ทาง (pathfinding) จัดสรรแบ่งงาน (aligning) มอบหมายให้อำนาจ (empowering) และสุดท้าย ซึ่งผมคิดว่าสำคัญที่สุดและทำยากที่สุด คือ เป็นตัวอย่างที่ดี (modeling) เพราะสามอย่างแรกนั้นพอสอนกันได้ แต่เรื่องสุดท้ายต้องอาศัยจิตสำนึกของแต่ละคน
2.การสื่อสาร (communication)
การสื่อสารเป็นองค์ประกอบสำคัญอีกอันหนึ่งที่หัวหน้างานที่ดีควรมี แต่ปัญหาคือในสภาพความเป็นจริง การสื่อสารมักเป็นสิ่งที่ถูกมองข้ามไป ถ้าลองมองเข้าไปดูในทุกๆ องค์กรจะพบว่าหลักสูตรการอบรมส่วนใหญ่ที่สอนเกี่ยวกับการสื่อสาร จะสอนแต่พนักงานเด็กๆ เรามักไม่ค่อยเห็นหลักสูตรที่เกี่ยวกับการสื่อสารที่จัดให้กับหัวหน้างาน หรือผู้บริหารมากนัก
แต่ผมสังเกตว่าปัญหาในเรื่องการสื่อสารส่วนใหญ่ในองค์กร มักไม่ได้มาจากเด็ก ส่วนมากมาจากผู้ใหญ่ เวลาผมไปทำงานโครงการที่ปรึกษาในหลาย ๆ องค์กร สิ่งแรกๆ ที่มักจะทำคือการเก็บข้อมูลจากพนักงาน และสิ่งที่ไม่ค่อยพลาด มักได้ยินเสียงบ่นด่าจากพนักงานเสมอๆ เรื่องหนึ่งคือการสื่อสารของหัวหน้างาน หรือผู้บริหาร ตั้งแต่ พูดมากไป พูดเยอะไป พูดวกวน พูดไม่รู้เรื่อง พูดแรง พูดเสียดสี พูดให้หมดกำลังใจ ฯลฯ
นอกจากการพูด ทักษะในการสื่อสารอีกเรื่องที่ควรอย่างมากที่จะต้องพัฒนาให้กับหัวหน้างาน และผู้บริหารเพิ่มเติมคือทักษะในการฟัง เพราะหัวหน้าส่วนใหญ่ฟังไม่ค่อยเป็น จึงไม่ค่อยได้ฟัง
3.ทักษะในเรื่องคน (people competency)
คุณทราบหรือไม่ว่า 70% ของบุคลากรที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง เป็นเพราะความรู้ความสามารถในงาน และผลงานในอดีต ซึ่งเป็นทักษะเรื่องงาน (task) และ 80% ของบุคลากรที่ถูกให้ออกจากงาน หรือถูกปรับลดตำแหน่ง เป็นเพราะขาดความสามารถในการบริหารจัดการคน ซึ่งเป็นทักษะเรื่องคน (People) (บทวิจัยของ James M. Kouzes & Barry Z. Posner, The Leadership Challenge, 3rd Edition, August 7, 2002)
ดังนั้นจึงขอสรุปง่ายๆ ได้ว่าคนส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จ และได้รับการเลื่อนตำแหน่งเพราะเก่งงาน แต่ล้มเหลว และต้องลงจากตำแหน่งเพราะไม่เก่งคน
องค์กรจำนวนมาก พัฒนาหัวหน้างานหลังจากที่เขา หรือเธอได้รับการเลื่อนตำแหน่งไปแล้ว ซึ่งก็ต้องแล้วแต่บุญกุศลของแต่ละคนว่าจะช้า หรือเร็วแค่ไหน บางคนรอไม่กี่วัน หลังจากโปรโมตก็ได้รับการพัฒนา แต่บางคนต้องรอชั่วชีวิต ส่วนบางองค์กรถึงแม้จะเป็นส่วนน้อย (แต่ก็เริ่มมีให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ ในเมืองไทย) เลือกที่จะพัฒนา (ว่าที่) หัวหน้างานก่อนที่จะเลื่อนตำแหน่ง แต่ก็ยังมีองค์กรอีกหลายหลายๆ องค์กรไม่เคยแม้แต่คิดว่าต้องพัฒนาหัวหน้างาน (never) ใครที่เผอิญไปอยู่ในองค์กรประเภทนี้ก็ซวยไป
4.การติดตามงาน (monitoring ability)
ทักษะหนึ่งที่หัวหน้าคนไทยขาดหายไปคือทักษะในการติดตามงาน หัวหน้าส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องการมอบหมายงาน (บางคนอาจมีปัญหามอบหมายงานมากเกินไปด้วยซ้ำ คือ มอบอย่างเดียว ไม่เคยทำเองเลย แบบนี้บางทีเราเรียกว่าโบ้ย) แต่งานส่วนใหญ่ที่มอบหมายไป มักมีปัญหาไม่ค่อยกลับมา หรือกลับมาไม่ทันเวลาที่กำหนด เข้าข่ายมอบหาย ไม่ใช่มอบหมาย
ซึ่งต้นตอของปัญหาอยู่ที่หัวหน้าไม่ได้ติดตามอย่างใกล้ชิด การพัฒนา และฝึกอบรมส่วนใหญ่ที่พูดเรื่องการมอบหมายงาน (delegation) ล้วนพูดถึงวิธีการมอบหมายงานที่ดี แต่ไม่เห็นมีหลักสูตรไหนเลยสอนเรื่องการติดตามงานที่ดี
ในภาษาอังกฤษมีคำพูดสอนใจที่มักได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ว่า งานอะไรก็ตามที่ถูกติดตามสอบถาม งานนั้นจะเสร็จก่อน (What gets monitored gets done) ดังนั้น จึงมีคำพูดต่อมาทีเล่นทีจริงว่า ดังนั้น ความสามารถของหัวหน้าคือความสามารถในการติดตามงาน (Ability of Manager is Ability to Monitor)
5 นำ และบริหารการเปลี่ยนแปลง (Leading & Managing Change)
ผมมั่นใจว่าทุกๆ ท่านต้องเคยได้ยินคำพูดที่ว่าสิ่งที่แน่นอน คือความไม่แน่นอน อันมีความหมายเป็นนัยว่า การเปลี่ยนแปลงมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง และทุกเวลา ไม่มีอะไรแน่นอน ดังนั้นทักษะในเรื่องการบริหารจัดการกับการเปลี่ยนแปลง จึงเป็นทักษะที่หัวหน้างานทุกวันนี้ต้องมี ไม่ว่าจะอยู่ในองค์กรไหน หรือวงการใด
ล่าสุดพูดไปท่านผู้อ่านอาจไม่เชื่อว่า เมื่อหลายเดือนก่อนผมได้รับการติดต่อจากวัดชื่อดังแห่งหนึ่ง ให้ไปถวายความรู้ใหัก้บพระผู้ใหญ่ในวัดเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง (change management) ตอนแรกคิดว่าฟังผิด แต่พอได้เข้าไปคุยพระอาจารย์จึงทราบว่า วัดก็เปลี่ยนไปเยอะ พระ ปรับตัวไม่ทันเลยต้องเรียนเรื่องการเปลี่ยนแปลง
ก่อนไปถวายความรู้ ก็ต้องไปทำการบ้าน จึงไปค้นคว้าอ่านตำรับตำราที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาหลายเล่ม และพบว่าพระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสสั่งสอนเรื่องการเปลี่ยนแปลงไว้ตั้งแต่สมัยพระพุทธกาลแล้วเช่นกันว่าสัพเพ สังขารา อนิจจา แปลว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง
ดังนั้น ถ้าหากจะตอบคำถามที่จั่วหัวไว้ข้างต้นว่า จะรักษาคนดีคนเก่งอย่างไรให้อยู่กับองค์กรนานๆ ผมขอลองมองต่างมุมว่า บางทีอาจไม่ใช่เงิน ไม่ใช่ตำแหน่งหรอก ที่จะล่อหรือไล่ให้พนักงานเหล่านี้อยู่หรือไป อาจเป็นหัวหน้างานต่างหากที่เป็นปัจจัยสำคัญ
ดังนั้น ถ้าเราจะรักษาคนเก่งคนดี ลองพัฒนาหัวหน้าของเขาให้เก่งขึ้นดีขึ้นสักหน่อยจะดีไหม เผื่อจะได้เกาให้ถูกที่คัน