nursekingnarai hospital lopburi

26 เม.ย. 2555

ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลระดับประเทศ

ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาล ปี 55





ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลระดับประเทศ


สำนักการพยาบาล (กองการพยาบาล เดิม) ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในกระทรวงสาธารณสุขมาอย่างต่อเนื่องทั้งในโรงพยาบาล และในชุมชน ตั้งแต่การกำหนดมาตรฐานการพยาบาล ระดับสถาบัน กำหนดระบบ แนวทาง และกระบวนการประกันคุณภาพการพยาบาล ในการดำเนินงานดังกล่าวได้มีการกำหนดตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาล ทั้งด้านโครงสร้าง กระบวนการ และผลลัพธ์ เป็นส่วนสะท้อนผลการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในระดับหน่วยงาน หลังจากได้ดำเนินการพัฒนาในระยะหนึ่ง สำนักการพยาบาลจึงได้ดำเนินการและสรุปตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลระดับประเทศ 10 ตัวชี้วัด ในโรงพยาบาล และ
 11 ตัวชี้วัดในชุมชนดังนี้




"ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล"



1. การผสมผสานอัตรากำลัง


2. จำนวนชั่วโมงการพยาบาลต่อวันนอนในโรงพยาบาล


3. ความพึงพอใจในการทำงานชองบุคลากรพยาบาล


4. อัตราการเกิดแผลกดทับในโรงพยาบาล


5. อัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล


6. ประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล


7. อัตราการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากการใส่สายสวนปัสสาวะ


8. อัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 28 วัน โดยไม่ได้วางแผน


9. ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อบริการพยาบาลผู้ป่วยนอก และ ผู้ป่วยใน


10. ระยะเวลาวันนอนเฉลี่ยของผู้ป่วยในโรงพยาบาล




"ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในชุมชน"



1. อัตราส่วนพยาบาลวิชาชีพต่อบุคลากรสุขภาพอื่น


2. อัตราส่วนพยาบาลวิชาชีพต่อประชากร


3. ความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ


4. ชั่วโมงการเยี่ยมบ้าน


5. ความครอบคลุมของการประเมินภาวะสุขภาพประชาชน


6. ภาวะสุขภาพครอบครัวในชุมชน


7. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง


8. ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในชุมชน


9. การเกิดแผลกดทับของผู้ป่วยที่บ้าน


10. การลดปัจจัยเสี่ยงในชุมชน


11. การพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยที่บ้าน


ขอเชิญท่านผู้สนใจศึกษาเนื้อหาได้เพิ่มเติมจากหนังสือ “ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล” และ “ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในชุมชน”


จากการประชุมเครือข่ายคุณภาพการพยาบาล “Road to Benchmarking” 4 ภาค ทั่วประเทศ ในปี 2547-2548 สำนักการพยาบาล และเครือข่ายคุณภาพการพยาบาล ได้กำหนดเป้าหมายในการเทียบเคียงคุณภาพการพยาบาล โดยใช้ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาล ทั้งในระดับ หน่วยงาน (เทียบเคียงคุณภาพภายใน) เครือข่ายในจังหวัด และเครือข่ายในเขต โดยมีสำนักการพยาบาลเป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินงาน ขณะนี้อยู่ในระหว่าง การจัดระบบการเทียบเคียง และระบบสารสนเทศ เพื่อรองรับการดำเนินงานดังกล่าว


ขอเชิญชวนให้พยาบาลทุกหน่วยงาน พัฒนาคุณภาพการพยาบาล และใช้ตัวชี้วัดในการสะท้อนคุณภาพการพยาบาลของท่าน (ตามกระบวนการการประกันคุณภาพการพยาบาล: PDCA) และก้าวเข้าสู่ขั้นตอนของการเทียบเคียงคุณภาพการพยาบาลต่อไ






24 เม.ย. 2555

การทำร้ายกระดูกสันหลัง

10 อันดับ การทำร้ายกระดูกสันหลัง



 
อันดับที่ 9

การหิ้วของหนักด้วยนิ้วบ่อยๆ
การหิ้วของหนักด้วยนิ้วบ่อยๆ จะมีผลทำให้มีพังผืดยึดตามข้อนิ้วมือ
 
อันดับที่ 8
การสะพายกระเป๋าหนักข้างเดียว
ไม่ควรสะพายกระเป๋าข้างใดข้างหนึ่งต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนเป็นการถือกระเป๋า โดยใช้ร่าง กาย ทั้ง 2 ข้างให้เท่าๆ กัน อย่าใช้แค่ข้างใดข้างหนึ่งตลอด เพราะจะทำให้ต้องทำงานหนักอยู่เพียงซีกเดียว ส่งผลให้กระดูกสันหลังคดได้


อันดับที่ 7
การใส่ส้นสูงเกิน 1 นิ้วครึ่ง
จะทำให้แนวกระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติ ซึ่งจะนำมาสู่อาการปวดหลัง

อันดับที่ 6
การยืนแอ่นพุง/หลังค่อม
ควรยืนหลังตรง แขม่วท้องเล็กน้อย เพื่อเป็นการรักษาแนวกระดูกช่วงล่างไม่ให้แอ่นและทำให้ไม่ปวดหลัง


อันดับที่ 5
การยืนพักขาลงน้ำหนักด้วยขาข้างเดียว
การยืนที่ถูกต้องควรลงน้ำหนักที่ขาทั้ง 2 ข้างเท่าๆ กัน โดยยืนให้ขากว้างเท่าสะโพกจะทำให้เกิดความสมดุลของโครงสร้างร่าง กาย


อันดับที่ 4
. การนั่งเบาะเก้าอี้ไม่เต็มก้น
ทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานหนัก เพราะฐานในการรับน้ำหนักตัวแคบ


อันดับที่ 3
การนั่งหลังงอ
การนั่งหลังงอ หลังค่อม เช่น การอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานๆ เป็นชั่วโมง จะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง เกิดการคั่งของกรดแลกติค มีอาการเมื่อยล้า ปวด และมีปัญหาเรื่องกระดูกผิดรูปตามมา

อันดับที่ 2
การนั่งกอดอก
ทำให้หลังช่วงบน สะบัก และหัวไหล่ ถูกยืดยาวออก หลังช่วงบนค่อมและงุ้มไปด้านหน้า ทำให้กระดูกคอยื่นไปด้านหน้า มีผลต่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแขน อาจทำให้มืออ่อนแรง หรือชาได้


อันดับที่ 1
การนั่งไขว่ห้างจะทำให้น้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่ง เป็นผลให้กระดูกคด

สาสน์จากนายกสภาการพยาบาล :

สาสน์จากนายกสภาการพยาบาล

วิชาชีพการพยาบาลยังเป็นวิชาชีพที่ขาดแคลน

 

เรียน    สมาชิกสภาการพยาบาลทุกท่าน


           ตามที่สภาการพยาบาลได้รับ Forward mail เกี่ยวกับการตัดวิชาชีพการพยาบาลออกจากวิชาชีพที่ขาดแคลนนั้น สภาการพยาบาลได้สอบถามเรื่องนี้กับสำนักงานก.พ.โดยตรง สำนักงานก.พ. ได้ตรวจสอบและแจ้งเมื่อวันที่10 เมษายน 2555 ว่า ข้อมูลที่ว่าวิชาชีพการพยาบาลมิใช่วิชาชีพ ขาดแคลนเป็นเรื่องเก่าตั้งแต่พ.ศ.2547-2548 และเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ยังไม่ได้วิเคราะห์ในรายละเอียดของข้อเท็จจริง สำนักงานก.พ.จึงไม่ได้มีการพิจารณาในประเด็นนี้      สาขาพยาบาลศาสตร์ยังอยู่ใน List วิชาชีพขาดแคลนของก.พ.

          ดังนั้น สภาการพยาบาลจึงขอเรียนให้ทราบว่าวิชาชีพ การพยาบาลยังเป็นวิชาชีพที่ขาดแคลน และขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้มีการผลิตเพิ่มอีกปีละ 2,000 คน เป็นเวลา 6 ปี เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข

           จึงเรียนให้สมาชิกสภาการพยาบาลทุกท่านได้รับทราบข้อมูลเบื้องต้น หากสมาชิกมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้จากสภาการพยาบาลโดยตรง

 

                                             ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วิจิตร ศรีสุพรรณ

                                นายกสภาการพยาบาล


 

 

สภาการพยาบาล อาคารนครินทรศรี ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข

ถ.ติวานนท์ อ.เมือง

จ.นนทบุรี 11000

โทรศัพท์ 02-596-7500 โทรสาร 0-2589-7121

E-mail : office@tnc.or.th

All right reserved by http://www.tnc.or.th/

ติดต่อเว็บมาสเตอร์ E-mail : webmaster@tnc.or.th