nursekingnarai hospital lopburi

26 เม.ย. 2555

ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลระดับประเทศ

ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาล ปี 55





ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลระดับประเทศ


สำนักการพยาบาล (กองการพยาบาล เดิม) ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในกระทรวงสาธารณสุขมาอย่างต่อเนื่องทั้งในโรงพยาบาล และในชุมชน ตั้งแต่การกำหนดมาตรฐานการพยาบาล ระดับสถาบัน กำหนดระบบ แนวทาง และกระบวนการประกันคุณภาพการพยาบาล ในการดำเนินงานดังกล่าวได้มีการกำหนดตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาล ทั้งด้านโครงสร้าง กระบวนการ และผลลัพธ์ เป็นส่วนสะท้อนผลการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในระดับหน่วยงาน หลังจากได้ดำเนินการพัฒนาในระยะหนึ่ง สำนักการพยาบาลจึงได้ดำเนินการและสรุปตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลระดับประเทศ 10 ตัวชี้วัด ในโรงพยาบาล และ
 11 ตัวชี้วัดในชุมชนดังนี้




"ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล"



1. การผสมผสานอัตรากำลัง


2. จำนวนชั่วโมงการพยาบาลต่อวันนอนในโรงพยาบาล


3. ความพึงพอใจในการทำงานชองบุคลากรพยาบาล


4. อัตราการเกิดแผลกดทับในโรงพยาบาล


5. อัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล


6. ประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล


7. อัตราการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากการใส่สายสวนปัสสาวะ


8. อัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 28 วัน โดยไม่ได้วางแผน


9. ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อบริการพยาบาลผู้ป่วยนอก และ ผู้ป่วยใน


10. ระยะเวลาวันนอนเฉลี่ยของผู้ป่วยในโรงพยาบาล




"ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในชุมชน"



1. อัตราส่วนพยาบาลวิชาชีพต่อบุคลากรสุขภาพอื่น


2. อัตราส่วนพยาบาลวิชาชีพต่อประชากร


3. ความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ


4. ชั่วโมงการเยี่ยมบ้าน


5. ความครอบคลุมของการประเมินภาวะสุขภาพประชาชน


6. ภาวะสุขภาพครอบครัวในชุมชน


7. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง


8. ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในชุมชน


9. การเกิดแผลกดทับของผู้ป่วยที่บ้าน


10. การลดปัจจัยเสี่ยงในชุมชน


11. การพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยที่บ้าน


ขอเชิญท่านผู้สนใจศึกษาเนื้อหาได้เพิ่มเติมจากหนังสือ “ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล” และ “ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในชุมชน”


จากการประชุมเครือข่ายคุณภาพการพยาบาล “Road to Benchmarking” 4 ภาค ทั่วประเทศ ในปี 2547-2548 สำนักการพยาบาล และเครือข่ายคุณภาพการพยาบาล ได้กำหนดเป้าหมายในการเทียบเคียงคุณภาพการพยาบาล โดยใช้ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาล ทั้งในระดับ หน่วยงาน (เทียบเคียงคุณภาพภายใน) เครือข่ายในจังหวัด และเครือข่ายในเขต โดยมีสำนักการพยาบาลเป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินงาน ขณะนี้อยู่ในระหว่าง การจัดระบบการเทียบเคียง และระบบสารสนเทศ เพื่อรองรับการดำเนินงานดังกล่าว


ขอเชิญชวนให้พยาบาลทุกหน่วยงาน พัฒนาคุณภาพการพยาบาล และใช้ตัวชี้วัดในการสะท้อนคุณภาพการพยาบาลของท่าน (ตามกระบวนการการประกันคุณภาพการพยาบาล: PDCA) และก้าวเข้าสู่ขั้นตอนของการเทียบเคียงคุณภาพการพยาบาลต่อไ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น