nursekingnarai hospital lopburi

19 ธ.ค. 2555

BEST PRACTICE โครงการสุขภาพดีมณีเวช

ชื่อเรื่อง โครงการสุขภาพดีมณีเวช



หน่วยงาน ผู้ป่วยนอก (ห้องตรวจอายุรกรรม)

นำเสนอโดย นางสมคิด ปรัชญาภรณ์

หลักการและเหตุผล

วิวัฒนาการ ของโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก คนเราต้องพยายามวิ่งไล่ตามให้ทัน จึงต้องทำอะไรๆ ให้รวดเร็ว นอกจากต้องคิดให้เร็วแล้วยังต้องเคลื่อนไหวให้เร็ว ใช้ยวดยานพาหนะที่มีความเร็วสูง มีการเล่นกีฬาที่ใช้ความรุนแรงและรวดเร็ว เช่น ฟุตบอล ฟุตซอล เทนนิส วอลเล่บอล บาสเกตบอล ฯลฯ หรือแม้แต่อิริยาบถต่างๆ เช่น การเดินเร็วๆ การวิ่ง การกระโดดโลดเต้น ฯลฯ สิ่งเหล่านี้มักก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย หรืออาจทำให้โครงสร้างของร่างกายเสียสมดุล จนอาจก่อให้เกิดความเจ็บปวด หรือก่อให้เกิดโรคเรื้อรังบางอย่างได้ และการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังนั้นทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์ ทรมาน ผู้ป่วยจึงพยายามแสวงหาทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อบำบัดรักษา ซึ่งทางเลือกนั้นอาจดีสำหรับคนหนึ่งแต่อาจไม่เหมาะกับอีกคนหนึ่งก็เป็นได้ อิริยาบถบำบัดเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ควรศึกษาและทดลองปฏิบัติ เพราะไม่ต้องรับประทานยาหรือสารเคมีใดๆ เข้าไปในร่างกาย เพียงแต่ต้องชนะใจตนเองในการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จึงจะเห็นผลชัดเจน

อาจารย์ประสิทธิ์ มณีจิระปราการ ซึ่งเป็นอาจารย์ของผู้เขียนนั้นท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของการจัดปรับกระดูกแบบโบราณ (2548) ท่านบอกว่า โรคเรื้อรังบางอย่าง เช่น เบาหวานนั้นให้สอบถามประวัติการเกิดอุบัติเหตุ ท่านบอกว่าในคนที่เคยเกิดอุบัติเหตุ หรือเคยลื่นล้มทั้งยืนหรือเคยล้มก้นกระแทกอย่างรุนแรง เหล่านี้อาจทำให้กระดูกสันหลังช่วงอกเคลื่อนไปกดต่อประสาทอัตโนมัติที่ออกไปเลี้ยงอวัยวะภายในคือตับอ่อน จึงทำให้ตับอ่อนทำงานในการผลิตอินซูลินได้ไม่ดี ก็จะเกิดอาการเบาหวานขึ้น ซึ่งถ้าทำอิริยาบทบำบัดให้กระดูกสันหลังกลับเข้าที่ อาการเบาหวานก็จะดีขึ้นได้เอง

การดำเนินการ

1. ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันที่มารับบริการงานผู้ป่วยนอก โดยแนะนำรายบุคคล ตามความต้องการ

2. สอนรายกลุ่มเข้ากิจกรรมกลุ่มเบาหวาน

3. ติดตามประเมินผลรายบุคคล ประเมินหลังปฏิบัติทันทีผู้ป่วยตอบว่าดีทุกคนเพราะไม่เหนื่อยมาก

4. วางแผนดำเนินการสอนในกลุ่มผู้รับบริการทุกราย พร้อมเจ้าหน้าที่ ในเวลาราชการ 10 นาทีช่วงเช้าก่อนแพทย์ตรวจ

งบประมาณ

ไม่มีค่าใช้จ่าย (สุขภาพดีไม่มีขายถ้าอยากได้ต้องทำเอง)

ปัญหาอุปสรรค

1. สถานที่จำกัด ปัจจุบันจึงต้องเน้นรายบุคคลและกลุ่มย่อย

2. การติดตามผลหวังผลระยะยาว การติดตามในแต่ละครั้งที่มาตรวจตามนัด

ประสบการณ์

การที่เราสามารถทำได้แต่ไม่ฝึกฝนความสามารถนั้นก็อยู่กับเราได้ชั่วคราว แต่เราสอนฝึกฝนทักษะความรู้นั้นไปสู่ผู้อื่นก็จะงอกงามไม่มีที่สิ้นสุด เหนื่อยวันนี้แต่ต่อไปก็จะมีคนมาแทนเราในวันหน้า
อิริยาบทบำบัดคืออะไร

อิริยาบทบำบัดก็คือการเคลื่อนไหวต่างๆ โดยมีการเกร็งกล้ามเนื้อเพื่อดึงโครงสร้างร่างกายที่เสียไปให้กลับสู่สภาพสมดุล และบางท่าให้ทำควบคู่กับการกำหนดลมหายใจเข้า-ออกลึกๆ ยาวๆ ทั้งนี้เพราะขณะหายใจเข้าจะทำให้กล้ามเนื้อมีการตึงตัว และเมื่อหายใจออกกล้ามเนื้อจะผ่อนคลาย การไหลเวียนโลหิตสะดวกขึ้น อาการปวดเมื่อยต่างๆ ก็จะค่อยๆ ลดลงหรือหายไปได้เองโดยไม่ต้องได้ยา สารเคมีหรือการผ่าตัดใดๆ ซึ่งการทำอิริยาบถบำบัดนี้ใช้เวลาไม่นาน ไม่ต้องใช้ชุดกีฬาโดยเฉพาะ ไม่ต้องมีเสียงเพลงประกอบ จึงไม่สิ้นเปลืองงบประมาณในการจัดซื้อจัดหา สามารถทำได้ง่ายๆ ในเวลาก่อนนอน ตื่นนอน หรือเมื่อทำงานนานๆ จะเครียดก็ให้ทำอิริยาบถบำบัดเพื่อคลายความเครียดนั้น

วิธีการ

1. การลงนอนและลุกจากที่นอน การลงนอนในท่าที่ให้นั่งริมเตียงแล้วเอียงตัวลงนั้น ศาสตร์นี้บอกว่าไม่ถูกต้อง เพราะการเอียงตัวลงจะทำให้กระดูกเชิงกรานและกระดูกสันหลังท่อนล่างบิด ถ้าลงนอนเบาๆ คงไม่เป็นไร แต่บางคนกระโดดลงนอน บางคนล้มกระแทกลงนอน จึงส่งผลให้กระดูกบิดหรือเคลื่อนไปกดประสาท ก่อให้เกิดอาการปวดเอว ปวดเข่า ตามมา จึงควรปรับอิริยาบทในการลงนอนให้ถูกต้องด้วยการคลานขึ้นทางท้ายเตียง แล้วลงนอนโดยคว่ำฝ่ามือทั้งสองยันพื้นไว้ (ใช้ฝ่ามือเท่านั้น ห้ามใช้นิ้วทั้ง 5 หรือหลังมือค้ำพื้นเพราะจะทำให้กระดูกนิ้วมือและกระดูกฝ่ามือเคลื่อนได้) และเนื่องจากเรามีการเคลื่อนไหวมาทั้งวัน กระดูกอาจอยู่ผิดที่ไปเล็กน้อยจึงควรจัดกลับเข้าที่ด้วยการบริหารร่างกายในท่างูและท่าเต่าก่อน แล้วจึงลงนอนในท่าคว่ำ จากนั้นจึงกลิ้งไปนอนหงายหรือนอนตะแคง โดยในท่านอนตะแคงต้องมีหมอนข้างรองรับขาที่เหลื่อมก่ายไปข้างหน้าเพื่อไม่ให้กระดูกสันหลังและสะโพกบิด เมื่อตื่นนอนตอนเช้าจะนอนอยู่ในท่าใดก็ตาม ต้องเปลี่ยนเป็นนอนคว่ำบริหารร่างกายใน ท่างูและท่าเต่า อีกรอบ เพื่อปรับสมดุลให้โครงสร้าง เพราะยามที่นอนหลับนั้น เราเองก็ไม่ทราบว่าที่ผ่านมาทั้งคืนเรานอนในท่าไหนนานเท่าไร บางคนอาจนอนตกหมอนจนรู้สึกปวดกล้ามเนื้อที่คอและสบัก การบริหารดังกล่าวจะช่วยให้อาการปวดนี้บรรเทาลงได้ เมื่อบริหารเสร็จ ก็ให้คลานลงจากปลายเตียง แต่ถ้านอนบนพื้นจากท่าคลานนี้ให้ใช้ฝ่ามือทั้งสองยันพื้นยกหัวเข่าทั้งสองขึ้นจากพื้นพร้อมกัน แล้วใช้ฝ่ามือยันตัวยืนขึ้นตรงๆ





2. การลงนั่งและการลุกจากที่นั่ง เมื่อจะลงนั่งบนเก้าอี้ให้ยืนหันหลังขาทั้งสองชิดเก้าอี้ก่อน แล้วใช้ฝ่ามือทั้งสองจับพื้นเก้าอี้ไว้ ค่อยๆ หย่อนก้นลงนั่ง โปรดจำไว้ว่าก้นกบเป็นสิ่งที่ต้องถนอม อย่าให้กระแทกกระทั้นเพราะจะส่งผลให้เกิดพยาธิสภาพต่างๆ ตามมา เช่น กระดูกสันหลังคด ปลายประสาทสันหลังบอบช้ำ เป็นต้น และเมื่อจะลุกจากเก้าอี้ควรดึงเท้าทั้งสองมาวางขนานกันเป็นเลข 11 เสียก่อนแล้วค่อยลุกขึ้น แต่ถ้าบุคคลนั้นปวดเข่าให้บำบัดด้วยอิริยาบทของการลุกจากเก้าอี้ โดยใช้ฝ่ามือทั้งสองจับพื้นเก้าอี้ไว้เลื่อนตัวไปข้างหน้าเหมือนนั่งเกือบตก ย้ายมือทั้งสองมาจับที่เข่าสองข้าง ยกก้นขึ้นดันเข่าไปข้างหลัง นิ่งไว้ครู่หนึ่งแล้วจึงเหยียดตัวขึ้นเดินต่อไปได้ ส่วนการลงนั่งกับพื้นให้ยืนเท้าชิดหรือแยกเป็นเลข 11 ย่อเข่าทั้งสองข้างก้มตัวลงไปข้างหน้าใช้ฝ่ามือทั้งสองยันพื้น ไปอยู่ในท่าคลานเข่า มือยันพื้นถ่างหัวเข่าออกจากกันแล้วไขว้ปลายเท้าใช้มือยันพื้นหย่อนก้นลงนั่งขัดสมาธิ (ศาสตร์นี้ไม่ให้นั่งพับเพียบ เพราะจะทำให้ต้องเกร็งตัวกระดูกสันหลังบิดไปข้างหนึ่ง) การลุกจากท่านั่งพื้นก็ให้ทำย้อนกลับจากท่าลงนั่ง คือให้โน้มตัวไปข้างหน้า ใช้ฝ่ามือทั้งสองยันพื้นไว้ คลายปลายเท้าออกจากการไขว้ ยกเข่าทั้งสองขึ้นจากพื้น ใช้ฝ่ามือทั้งสองยันพื้นดันตัวขึ้นยืน การเข้านั่งในรถยนต์เมื่อเปิดประตูรถแล้วให้วางก้นบนเบาะก่อน เมื่อจะหมุนตัวจากด้านข้างเข้าไปนั่งในรถจึงยกขาทั้งสองตามเข้ารถพร้อมกัน และเมื่อจะลงจากรถก็ให้หมุนตัวออกไปด้านข้างก่อน วางขาทั้งสองลงบนพื้นเสียก่อนแล้วจึงค่อยๆ ลุกขึ้นยืนตรง








 
หากสามารถปรับอิริยาบทหลักๆ ในการนั่ง การนอน และการลุกจากที่นั่งหรือที่นอนตามลักษณะที่กล่าวข้างต้นได้จนกระทั่งเป็นนิสัย ให้สังเกตุว่าอาการปวดเมื่อยต่างๆ ลดลงหรือหายไป และถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น ท่านต้องบริหารร่างกายในท่าต่างๆ ที่แนะนำอย่างสม่ำเสมอคือ


ท่างู เป็นท่าจัดกระดูกสันหลังส่วนล่างให้กลับเข้าที่


ท่าเต่า เป็นท่าจัดกระดูกสันหลังส่วนล่างให้กลับเข้าที่



คำแนะนำในการปฏิบัติตัวตามแนววิชามณีเวช

สิ่งสำคัญในการจัดสมดุลของร่างกายคือการใช้ชีวิตประจำวัน

การนั่ง นอน ยืน เดิน

การนั่ง ห้ามการนั่งพับเพียบ นั่งท่าญี่ปุ่น(เท้าแบะออกสองข้าง) นั่งไขว้ห้าง

นั่งเอนตัวบนโซฟา

ท่าที่ควรนั่ง นั่งตัวตรง ,นั่งไขว้ห้างท่าอาเสี่ย(ขาเป็นเลขสี่) นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่าท่าเทพบุตรท่าเทพธิดา


เวลาจะนั่งควรถอยหลังให้ขาสัมผัสเก้าอี้ที่จะนั่งก่อน แล้วก้มตัวลงจับหัวเข่าสองข้างแล้วหย่อนก้นลงนั่ง

เวลาจะลุกขึ้นควรใช้มือจับเก้าอี้ข้างๆตัว ขยับก้นให้เลื่อนออกมาข้างหน้าก่อน แล้วใช้มือทั้งสองจับเข่าทั้งสองข้าง เอนตัวไปข้างหน้า แล้วลุกขึ้นยืนโดยที่มือยังกุมเข่าไว้สองข้าง เมื่อยืนเรียบร้อยแล้วดันเข่าให้ตึงจึงยืดตัวตั้งตรง


การนอน ห้ามท่านอนคว่ำเด็ดขาด ถ้าจะนอนตะแคงต้องใช้หมอนที่หนาเท่ากับความหนาของไหล่เพื่อช่วยให้คอไม่เอียงหรือคอพับเวลานอน และต้องมีหมอนข้างที่หนาพอควรที่จะช่วยให้สะโพกไม่บิดเมื่อขาวางบนหมอนข้าง
ท่านอนที่ดีที่สุดควรนอนหงาย ใช้หมอนเตี้ยๆรองบริเวณคอ




การขึ้นเตียง ควรขึ้นจากปลายเท้าโดยคลานขึ้น

ใช้ฝ่ามือยันเตียงค่อยคลานขึ้น นอนคว่ำลงกับเตียง เมื่อจะนอนหงายหรือนอนตะแคง

ให้เหยียดมือข้างที่จะหมุนตัวขึ้นเหนือหัว

แล้วยกแขนอีกข้างหมุนไปด้านที่ต้องการพลิก ไม่ใช้มือหรือเท้ายันเตียงให้พลิก

ในทำนองเดียวกันถ้าต้องการลงจากเตียง ให้นอนคว่ำก่อน ให้ยกแขนข้างหนึ่งขึ้น แล้วยกแขนอีกข้างหมุนตัวเป็นนอนคว่ำแล้วค่อยๆคลานลงมาจากเตียง

การยืน ควรยืนสองขาน้ำหนักลงสองข้างเท่ากัน เท้าขนานกันเป็นเลขสิบเอ็ด การยืนพักขาลงน้ำหนักข้างเดียว ต้องสลับข้างกันบ่อยๆ ถ้ายืนด้านใดด้านหนึ่งจะทำให้สะโพกบิดและปวดหลังตามมา
การเดิน เดินให้เท้าขนานกันเป็นเลขสิบเอ็ด อย่าให้ปลายเท้าแบะออก เวลาเดินไปข้างหน้าน้ำหนักลงที่ส้นเท้าก่อน

ถ้าเดินถอยหลังน้ำหนักลงที่ปลายเท้า

ท่าบริหารที่ 1 ท่าไหว้สวัสดี หรือท่ารำละคร


ท่าบริหารที่ 2 ท่าโม้แป้ง

ท่าบริหารที่ 3 ท่าถอดเสื้อ

ท่าบริหารที่ 4 ท่าหมุนแขนกรรเชียง
ท่าบริหารที่ 5 ท่าปล่อยพลัง
ท่าบริหารที่ 6 ท่าขึ้นลงเตียง ท่างู


ท่าบริหารที่ 6 ท่าแมว-ท่าเต่า



                                                                                         จากคำสอน
                                                       แนวทางปฏิบัติของท่านอาจารย์ประสิทธิ์ มณีจิระประการ
เรียบเรียงโดย นายแพทย์นพดล นิงสานนท์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น